วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
421 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
20 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
466 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
250 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
297 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
211 รูป
ลาสิกขา
7 รูป
มรณภาพ
2 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. ขอนแก่น
วันที่ 19-11-2567
จ. นนทบุรี
วันที่ 19-11-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 19-11-2567
จ. เลย
วันที่ 19-11-2567
จ. ศรีสะเกษ
วันที่ 19-11-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 19-11-2567
จ. เพชรบูรณ์
วันที่ 19-11-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 19-11-2567
จ. อ่างทอง
วันที่ 25-05-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 15-05-2567
QR Code วัดเขาสมอระบัง
รหัสวัด :
02760205003
ชื่อวัด :
วัดเขาสมอระบัง
นิกาย :
มหานิกาย
ประเภทวัด :
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด :
ปี 2483
วันรับวิสุงคามสีมา :
ปี 2491
ที่อยู่ :
ม.1
เลขที่ :
92
หมู่ที่ :
1
ซอย :
-
ถนน :
-
แขวง / ตำบล :
หนองปลาไหล
เขต / อำเภอ :
เขาย้อย
จังหวัด :
เพชรบุรี
ไปรษณีย์ :
76140
เนื้อที่ :
100 ไร่
- งาน
- ตารางวา
Facebook :
มือถือ :
0826192655
คุณสมบัติวัด :
เป็นสำนักปฏิบัติธรรม
จำนวนเข้าดู :
5697
ปรับปรุงล่าสุด :
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 14:12:59
ข้อมูลเมื่อ :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
 
 
 
 
ประวัติวัดเขาสมอระบัง

วัดเขาสมอระบัง  วัดเขาสมอระบัง ตั้งอยู่เลขที่  ๙๒  หมู่ ๑ บ้านเขาสมอระบัง  ตำบลหนองปลาไหล  อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ ๗๖๑๔๐  เขาสมอระบัง  มีสภาพเป็นภูเขาดินลูกรังแดง มีระดับความสูงประมาณ  ๔๐  เมตร  มีเนื้อที่ที่เป็นภูเขาประมาณ  ๑๐๐ ไร่ เศษ  เป็นภูเขาลูกเดียวในพื้นที่ตำบลหนองปลาไหล รอบ ๆ ภูเขาเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน ด้านทิศตะวันออกของภูเขามีลำคลองใหญ่ เรียกชื่อว่า “คลองน้ำเชี่ยว” เป็นลำคลองที่แยกมาจากแม่น้ำเพชรบุรี ที่บ้านเวียงคอย ตำบลหัวสะพาน อำเภอเมืองเพชรบุรี ไหลผ่านหมู่บ้าน ตำบลในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี หลายแห่ง จนถึงบ้านเขาสมอระบัง แล้วไหลผ่านวัดคุ้งตำหนัก ลงสู่ทะเล ที่ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม เพชรบุรี  ด้านทิศตะวันตก เป็นท้องนา ปัจจุบันส่วนใหญ่ทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา ด้านทิศเหนือ เป็นสวนมะพร้าวและป่าจาก  ด้านทิศใต้ เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา ชื่อโรงเรียนวัดเขาสมอระบัง เพราะวัดให้ที่ดินที่มีผู้บริจาคให้วัด เป็นที่สร้างโรงเรียน  จากหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับที่พิมพ์เมื่อปีพุทธศักราช  ๒๔๖๔  ปรากฏชื่อ เขาต้นสมอ  มีถ้ำอยู่ทางทิศตะวันออกปากถ้ำอยู่ทางทิศเหนือ ปัจจุบันไม่พบต้นสมอ และไม่เห็นถ้ำดังกล่าว (มีการเล่าลือกันว่า แต่เดิมมีถ้ำ ภายในถ้ำมีสิ่งของเครื่องใช้ ซึ่งชาวบ้านสามารถมานำไปใช้ได้   และยังเล่าต่อไปอีกว่าสิ่งของที่นำไปใช้แล้ว    ไม่นำมาคืน จำนวนมากขึ้น  ถ้ำนั้นจึงค่อยๆ ปิดไป เคยมีผู้นำระเบิดหินมาทำการระเบิดที่บริเวณซึ่งเข้าใจว่าเป็นปากถ้ำ หลายครั้ง ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ  คือ ระเบิดไม่ทำงาน)                                                                                แต่เดิมก่อนพุทธศักราช  ๒๔๗๗  เล่ากันว่า ที่เนินเขานี้มีต้นสมอจำนวนมากขึ้นปกคลุมอยู่ สามารถใช้เป็นที่กำบังลมพายุได้ด้านทิศเหนือมีถ้ำ   และมีทรัพย์สิน เครื่องใช้จำนวนมาก ชาวบ้านสามารถหยิบยืมมาใช้ได้ แต่น่าเสียดายที่มนุษย์มีกิเลสหยิบยืมของไปใช้แล้วไม่นำมาคืน ทำให้ถ้ำค่อย ๆ ปิดลง นายใหม่ อ่ำจิ๋ว ชาวบ้านเขาสมอระบัง จึงอาสาบวชเป็นพระภิกษุมาอยู่รักษาถ้าไว้  จนถึงปีพุทธศักราช  ๒๔๘๑  เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๗  นายเทียร  มณเทียร ชาวบ้านเขาสมอระบัง ซึ่งขณะนั้นมีอายุ  ๘๐ ปี  ได้คิดปั้นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์  และปางพระพุทธไสยาสน์ ไว้ที่หน้าถ้ำ เปรียบประดุจผู้เฝ้าถ้ำ  พร้อมสร้างศาลาที่พักอีก ๒ หลัง เสร็จแล้ว  นายใหม่  อ่ำจิ๋ว เป็นผู้มีจิตศรัทธาอาสาบวชเป็นพระดูแล  จึงช่วยกันสร้างเป็นกุฏิขึ้น  รวม  ๓  หลัง                                                                                                                                                                                       จนกระทั่งปี พ.ศ.  ๒๔๘๑  “พระอาจารย์ คง  ธมฺมโชติ”  วัดบางกะพร้อม  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม  ได้เดินทางมาทางเรือจากเขายี่สาร  อำเภออัมพวา  เข้ามาตามคลองน้ำเชี่ยว  จนถึงบ้านเขาสมอระบัง  พิจารณาเห็นว่าเขาสมอระบังมีภูมิทัศน์ร่มรื่น  เงียบสงบ เหมาะแก่การเจริญจิตภาวนา ทำสมาธิ วิปัสสนา จึงตัดสินใจอยู่พำนักและจำพรรษาอยู่บนเขาสมอระบัง  และได้ตั้งจิตอธิษฐานปั้นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เพื่อให้เป็นพระประธาน ให้ชื่อว่า “พระพุทธรูปประธานศรีวิชัย” แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๔                                                                                                                                                                                                                                                                       ชาวบ้านให้ความศรัทธาเลื่อมใสมาก เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพราะเมื่อมากราบไหว้อธิษฐานน้อมกาย วาจา ใจ นึกถึงสิ่งใด มักประสบความสำเร็จเสมอ นิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อศรีวิชัย”  เดิมประดิษฐานที่บริเวณต้นโพธิ์หน้าลานปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน เมื่อหลวงพ่อนวม  หรือพระครูสุทธศีลาจารย์ มาเป็นเจ้าอาวาส ได้อัญเชิญเป็นพระประธานในอุโบสถ ให้ชื่อใหม่ว่า “พระศรีวิชัยมงคล”    ปี พ.ศ. ๒๔๘๓  ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด  ชื่อ “วัดเขาสมอระบัง”  แต่ยังมิได้แต่งตั้งเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการ                                                                                                                                                                                                                                                                                  ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงพ่อคง ธมฺมโชติได้เริ่มศาลาการเปรียญ  ขนาดกว้าง  ๔ วา  ๓  ศอก   ยาว  ๙  วา  วัสดุการก่อสร้างทั้งหมดขนมาทางเรือ และทางเกวียน เพราะขณะนั้นยังไม่มีถนนและรถยนต์                                                                                                                ชาวบ้านเขาสมอระบังและหมู่บ้านใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือและศรัทธาต่อหลวงพ่อคงอย่างมาก  ช่วยเหลืองานและให้การอุปถัมภ์ทุกอย่างที่ทำได้ อาทิ  บนเขาซึ่งมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ไม่มีน้ำใช้เพราะไม่มีที่กักเก็บน้ำ ชาวบ้านก็ช่วยกันหาบน้ำมาถวาย  โดยเฉพาะชาวบ้านท่าเรือ หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองปลาไหล และชาวบ้านทับคาง ตำบลทับคาง เป็นต้น                                                    ชาวบ้านเห็นความอัศจรรย์ เป็นปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อคง คือ หลวงพ่อคงได้ขอแรงชาวบ้านมาช่วยกันขุดสระเพื่อใช้เก็บน้ำฝน ขนาดกว้าง  ๖  ศอก (๓ เมตร)  ยาว  ๔  วา (๘  เมตร)  ชาวบ้านได้ร่วมแรงแข็งขันชวยกันขุดสระน้ำอย่างเต็มความสามารถ  แต่บังเอิญบริเวณที่ขุดด้านหนึ่งมีหินก้อนใหญ่ไม่สามารถขุดผ่านไปได้ หลวงพ่อคงซึ่งดูแลการขุดสระอยู่ ได้เอาชันหมากที่เคี้ยวอยู่โยนไปที่หินก้อนใหญ่นั้น แล้วให้ชาวบ้านช่วยกันสกัดหินใหม่  หินแตกออกเป็นกาบ เป็นชั้น ๆ  ไม่สามารถยกขึ้นมาได้ หลวงพ่อคงให้เอาผ้าเหลืองพระมาผูกแล้วช่วยกันหามขึ้นมาได้ ชาวบ้านจึงพากันศรัทธาหลวงพ่อคงมากยิ่งขึ้น ทำให้ ชานหมาก และผ้าเหลือง ของหลวงพ่อคง กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์                                                                                                                                                                                                                      ต่อมา “พระครูสุทธสีลาจารย์” เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเขาสมอระบังได้อัญเชิญขึ้นเป็นพระประธานในอุโบสถ  เมื่อปีพุทธศักราช  ๒๔๙๑  จนถึงปัจจุบันนับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  สิ่งแรกของวัดเขาสมอระบัง  ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓  ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด  ( ตามรหัสวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุรหัส๐๒๗๖๐๒๐๕๐๐๓ ก่อนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ) แต่ยังไม่ได้แต่งตั้งเจ้าอาวาส  ปีพุทธศักราช  ๒๔๘๔  พระอาจารย์คง ธมฺมโชติ  ได้จากวัดเขาสมอระบัง โดยไม่มีใครทราบว่าไปที่แห่งใด                                                                                 ปีพุทธศักราช  ๒๔๘๕  นายชดทองนิล  ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นพร้อมชาวบ้านเขาสมอระบัง ทราบว่า พระภิกษุนวม สุทฺธสีโล จากวัดซองพลู จังหวัดนนทบุรี เดินธุดงค์ มาปักกลดอยู่ที่ถ้ำเขาแก ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จึงเดินทางไปเพื่อศึกษา สนทนากัน ๑ วัน ๑ คืน เกิดความศรัทธาจึงนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาส โดยครั้งแรกพระภิกษุนวม สุทฺธสีโล  ยังไม่ได้รับปากว่าจะเป็นเจ้าอาวาส ขอไปดูสถานที่ก่อนครั้งแรกพระภิกษุนวม สุทฺธสีโล ได้เดินทางมาปักกลรดพักค้างอยู่ที่เชิงเขาด้านทิศตะวันตก  และสนทนากับชาวบ้านพอสมควร จึงกลับไปวัดซองพลู เพื่อลาเจ้าอาวาสต้นสังกัด มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาสมอระบัง ซึ่งแต่งตั้ง  เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ปีพุทธศักราช  ๒๔๘๗  พัฒนาวัดเรื่อยมา มีการก่อสร้างอุโบสถกุฏิสงฆ์ (บางส่วนรื้อแล้ว) หอฉัน (รื้อแล้ว) หอสวดมนต์ (รื้อแล้ว) โรงครัว (รื้อแล้ว) มณฑป ทางขึ้นเขา เป็นบันไดปูน ๑๓๙ ขั้น ด้านทิศตะวันออก (หน้าอุโบสถ) โรงเรียนพระปริยัติธรรม ถังเก็บน้ำฝน รวม ๖ ถัง ปัจจุบันใช้ได้ ๑ ถัง และเมื่อปีพุทธศักราช  ๒๕๑๗  ได้ขุดพบรอยพระพุทธบาทขนาดกว้างประมาณ ๑ เมตร ยาวเกือบ ๒ เมตร ด้านทิศตะวันออกของเขา นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งที่สองของวัดเขาสมอระบัง                                                                        พระครูสุทธสีลาจารย์  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองปลาไหล  ได้นำประชาชนพัฒนาท้องถิ่นให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขจนถึงวันที่  ๓  มกราคม พุทธศักราช  ๒๕๒๒ พระครูสุทธสีลาจารย์ หรือหลวงพ่อนวม สุทฺธสีโล ได้มรณภาพด้วยอาการสงบภายในกุฏิของท่านเอง รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาสมอระบังได้  ๓๕  พรรษา สิริอายุได้  ๗๓  ปี ๘ เดือน ๒๒ วัน พรรษา ๔๕                                                                                        ปี พ.ศ. ๒๔๘๖  พระภิกษุนวม  สุทฺธสีโล  ได้เดินธุดงค์มาปักกรดอยู่บริเวณเขาสมอระบัง  และเริ่มสร้างเสนาสนะต่างๆ  พร้อมถังเก็บน้ำฝน   เป็นต้น                                                                ปี พ.ศ.  ๒๔๘๘  เริ่มก่อสร้างอุโบสถ  ใช้เวลาการก่อสร้าง   ๒  ปี  จึงแล้วเสร็จ  ได้รับพระทานวิสุงคามสีมา  ปี พ.ศ.  ๒๔๙๑   และได้ทำการปิดทองฝังลูกนิมิต  เมื่อปี พ.ศ.  ๒๔๙๓                                                                                                                                                                                                                                                                                          ปี พ.ศ. ๒๕๑๗  พระครูสุทธศีลาจารย์  หรือหลวงพ่อนวม  สุทฺธสีโล  เจ้าอาวาส ได้ให้พระภิกษุสามเณรและชาวบ้าน ช่วยกันถางป่าป่าละเมาะ  มีต้นไม้ขนาดเล็กและต้นจากจำนวนมาก  แล้วท่านให้ช่วยกันขุดดินตรงที่ท่านกำหนดออก  ก็พบหินก้อนใหญ่    ท่านให้เอาน้ำมาล้างทำความสะอาดหินก้อนนั้นแล้ว  สิ่งที่ปรากฏ คือ หินมีลักษณะเลื่อม คล้ายรอยเท้าซ้ายจางๆ  เหมือนรอยเท้าบนดินเหนียว  ตรงกลางใจเท้ามีรอยนูน  ผิดกับรอยเท้าคนธรรมดา  ลักษณะคล้ายเดินขึ้นภูเขา แนวเดียวกับอุโบสถ ท่านเรียกว่า รอยพระพุทธบาท                                                                                                                                                                                                                                                                              หลังจากที่พบรอยพระพุทธบาทได้มีการสมโภชด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ ติดต่อกันหลายวัน และเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันพระหรือวันธรรมสวนะ ต่อมาที่บริเวณซอกหินเหนือปลายนิ้วรอยพระพุทธบาท มีน้ำไหลออกมาจากซอกหิน กว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร น้ำใสมาก  นางใย   เรืองเดช  ( ปัจจุบันปี ๒๕๕๖ อายุ ๘๖ ปี )  บวชชีอยู่ที่วัดเขาสมอระบัง ได้ตั้งจิตอธิฐานต่อรอยพระพุทธบาท ขอน้ำที่ปรากฏออกมานั้นเป็นน้ำมนต์ในการรักษาโรคกระดูกสันหลัง ที่มีอาการปวด ปรากฏว่าอาการที่เคยปวด หายไป และยังมีอีกหลายคนที่มาขอน้ำในซอกหินนี้ไปบำบัดโรค หลายคนมีอาการดีขึ้น  จนเล่าขานกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ เรียกกันว่า น้ำทิพย์                                                             บริเวณเชิงเขาใกล้เคียงกับรอยพระพุทธบาท มีเจ้าศาล ซึ่งหลวงพ่อนวม ให้ปรับปรุงขึ้นจากเดิม และให้ชื่อว่า ศาลเจ้า แสนยากร หลังจากการปรับปรุงแล้วมีประชาชนมากราบไหว้และอธิษฐานขอในสิ่งที่ต้องการบางรายก็ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งอธิษฐานจึงบอกกันต่อ ๆ ไป    ดังรูปต่อไปนี้                                                                                                                                                                
เจ้าอาวาสรูปที่สองต่อมา ได้แก่ “พระครูกิตติวัชรวิสุทธิ์” จากวัดซองพลู จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้มาอยู่ดูแลพระครูสุทธสีลาจารย์ ระยะหนึ่ง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสจนถึง ปีพ.ศ. ๒๕๓๔  ได้ลาสิกขาบท รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ประมาณ ๑๒ พรรษา                                                       วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี ได้แต่งตั้ง พระจำนงค์ ธมฺมวุฑฺโฒ  จากวัดแก่นเหล็ก  ตำบลคลองกระแชง  อำเภอเมืองเพชรบุรี มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาสมอระบัง ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพิพัฒน์วัชราภรณ์ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองปลาไหลและตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอเขาย้อย ตามลำดับ โดยได้พัฒนาวัดเขาสมอระบังอย่างมากมาย  (ปรากฏตามผลงานของพระครูพิพัฒน์วัชราภรณ์ที่กล่าวแล้วข้างต้น)                             เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีปรากฏการณ์ใหม่เกิดขึ้นบริเวณเชิงเขาด้านทิศเหนือ คือ มีก้อนหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีมานานแล้วขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ  ๕๐  เซนติเมตร สูงพื้นดินประมาณ  ๑  เมตร จำนวน ๒ ก้อนคู่กัน หลายคนเคยไปถากถาง ตัดต้นไม้ บริเวณที่มีหินนี้ตั้งอยู่ ก็ไม่เคยเห็นหรือมีสิ่งใดผิดปกติ เมื่อวันดังกล่าว มีเด็กไปวิ่งเล่นบริเวณที่เป็นหินนั้น แล้วเกิดการตกใจวิ่งมาบอกกับผู้ปกครองว่า “มีผีอยู่ที่ก้อนหิน”  ผุ้ปกครองพร้อมชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงจึงพากันไปดู ก็มองเห็นว่าที่ก้อนหินนั้น มีลักษณะเป็นใบหน้าผู้หญิง มีตา จมูก และปากสีแดง ปรากฏที่ก้อนหินก้อนหนึ่ง ประชาชนที่ทราบข่าวก็พากันมาดู บางรายมาจุดธูปอธิฐานขอในสิ่งที่ตนเองต้องการ เมื่อได้สิ่งที่ต้องการแล้ว ก็จะนำพวงมาลัยบ้าง สิ่งของเครื่องสังเวยบ้าง มาถวาย และขนานนามว่า “เจ้าแม่ศิลา” หรือ “เจ้าแม่ศิลาทอง” และชาวบ้านก็จัดให้มีการทำบุญในวันที่ ๑๓ มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่พบลักษณะของหินดังกล่าว ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ เป็นต้นมา    
                   ประวัติของ พระครูพิพัฒน์วัชราภรณ์                                                                         
เกิดวันพุธ ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ที่บ้านดอนทราย อำเภอเขาย้อย  บุตร นายใย นางน้อย เงินลำยอง อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา รวม ๔ คน ได้แก่  ๑. นายประยูร เงินลำยอง (ถึงแก่กรรม)                                                                       ๒. พระครูพิพัฒน์วัชราภรณ์ (จำนงค์ ธมฺมวุฑฺโฒ : เงินลำยอง)                                                      ๓. นายเฉลา เงินลำยอง                                                                                               ๔. นายแฉล้ม เงินลำยอง                                                                                     ในวัยเด็กได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดดอนทรายจนจบชั้นระถมศึกษาตอนต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษา ได้ช่วยบิดามารดา ทำนาเลี้ยงวัว และทำงานบ้าน จนอายุได้ ๒๒ ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดอนทราย เมื่อวันที่  ๑๖ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยมี พระครูบรรพตศีลคุณ เจ้าคณะอำเภอเขาย้อย เจ้าอาวาสวัดยาง ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุนทรจินดาคุณ วัดดอนทราย ตำบลทับคาง อำเภอเขาย้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูรัตนสารวิสุทธิ์ วัดแก่นเหล็ก ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้ฉายาว่า ธมฺมวุฑฺโฒและจำพรรษาที่วัดดอนทราย เมื่อผ่านพ้นหนึ่งพรรษาโยมมารดามาบอกให้ขอลาสิกขา (สึก) เพื่อไปช่วยโยมพ่อทำนา เลี้ยงวัว แต่พระจำนงค์ ธมฺมวุฑฺโฒไม่ยอมลาสิกขา และย้ายไปจำพรรษาที่วัดแก่นเหล็กตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม จนสอบได้  นักธรรมชั้นเอก และสำเร็จการศึกษาระดับประโยคมัธยมตอนต้น  จากโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่วัดมหาธาตุวรวิหาร             เมื่อวันที่  ๕  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  ตามราชทินนามที่  “พระครูพิพัฒน์วัชราภรณ”                                                                                                  ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๔๘  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลหนองปลาไหล ปี พ.ศ. ๒๕๔๙  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์                                                                                          ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ วัดเขาสมอระบังได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมมหาเถรสมาคมให้เป็น สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเพชรบุรี  แห่งที่  ๒๑  จึงได้เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมฯ                    ปี พ.ศ. ๒๕๕๔  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอเขาย้อย                                    ปี พ.ศ. ๒๕๕๕  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) และได้รับประกาศนียบัตร จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย                                        ปี พ.ศ. ๒๕๕๖  ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี  หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาการจัดการเชิงพุทธ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ซึ่งจะจบการศึกษาได้รับปริญญาบัตร  ประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘                                                                                                                   รูปพระครูพิพัฒน์วัชราภรณ หรือ หลวงพ่อนงค์                                                                                                                                            “พระครูพิพัฒน์วัชราภรณ์” ถึงแก่มรณภาพที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี แพทย์ลงความเห็นว่า ภาวะภายในทรวงอกได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง  เมื่อวันที่  ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ สิริอายุได้ ๗๓ ปี บริบูรณ์ พรรษา ๕๑  รวมเวลาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาสมอระบัง ได้ ๒๓ พรรษา                                                                                                                                                                                                                              ปัจจุบัน “พระอธิการสุกสี  สิริสกฺโก” อายุ ๕๙ พรรษา ๑๗  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาสมอระบัง ในวันที่  ๒  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๕๘                                                                                                                                                       
พระอธิการสุกสี  สิริสกฺโก   ซึ่งในขณะนี้กำลังศึกษาในชั้น (ป.ตรี) ของ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคณะสังคมศาสตร์ สาขา การจัดการเชิงพุทธ ที่วัดพระรูป ตำบลช่องสะแก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 :
(4.53 mb)
เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 :
(26.74 kb)
เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 :
(364.66 kb)