วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
QR Code วัดหนองจอก
รหัสวัด :
02760618001
ชื่อวัด :
วัดหนองจอก
นิกาย :
ธรรมยุต
ประเภทวัด :
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด :
วันที่ 17 เดือน มกราคม ปี 2528
วันรับวิสุงคามสีมา :
วันที่ 04 เดือน กรกฎาคม ปี 2529
ที่อยู่ :
หนองจอก
เลขที่ :
53
หมู่ที่ :
ม.3
ซอย :
-
ถนน :
-
แขวง / ตำบล :
ห้วยลึก
เขต / อำเภอ :
บ้านลาด
จังหวัด :
เพชรบุรี
ไปรษณีย์ :
76150
เนื้อที่ :
24 ไร่
1 งาน
15 ตารางวา
มือถือ :
0819954150
คุณสมบัติวัด :
เป็นวัดท่องเที่ยว
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
จำนวนเข้าดู :
5712
ปรับปรุงล่าสุด :
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 13:45:08
ข้อมูลเมื่อ :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
 
 
 
 

วัดหนองจอก  
ตั้งอยู่ เลขที่ 53 หมู่ที่ 3  
ตำบลห้วยลึก  อำเภอบ้านลาด  จังหวัดเพชรบุรี  สังกัด ธรรมยุต

       เดิมทีหมู่บ้านนี้คือ  บ้านหนองจอกแห่งนี้มีความทุรกันดารมากกว่านี้หลายสิบเท่า  แม้แต่ถนนหนทางก็ไม่มี  ต้องอาศัยสัญจรไปด้วยการเดินเกวียนต้องเดินด้วยเท้าเปล่า  ไปไหนแด่ละครั้งลำบากมาก  ไม่มีใครเลยที่จะคิดว่าสถานที่นี้จะเป็นวัดขึ้นมาได้  ทั้งคนในหมู่บ้านและคนหมู่บ้านใกล้เคียงใช่เขาเหล่านั้นจะดูถูก  แต่สภาพเหตุการณ์มันบ่งบอกว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น
สาเหตุที่ให้เกิดมีเป็นวัดหนองจอกขึ้นมานั้น  เมื่อปี พ.ศ. 2507  จังหวัดนครปฐมได้จัดงานประจำปีขึ้น  คืองานพระปฐมเจดีย์  กลางเดือน 12  และในงานนี้จะมีประชาชนโดยทั่วไปๆเที่ยวงานและนมัสการพระปฐมเจดีย์  และในงานจำนวนนั้นยังมี  นายน้อย  นางเหรี่ยง  บุศราคำ  คนบ้านวัดตึก  ทั้ง 2 คนนี้ด้ไปในงานนี้  เผอิญได้พบกับพระภิกษุ 2 รูปด้วยกัน  เมื่อได้นมัสการแล้วได้ไต่ถามซึ่งกันและกันจนทราบถึงที่อยู่ของกันและกัน  คือพระภิกษุมาก  และพระภิกษุแหวน  อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี  เป็นพระสายธรรมยุต  ทั้ง 2 ฝ่ายถูกอัธยาศัยกัน  นายน้อย  นางเหรี่ยง  จึงได้อาราธนาให้มาอยู่พักที่หมู่บ้านหนองจอกแห่งนี้  ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีวัด  มีแต่โรงเรียน  และครูได้ไปรื้อศาลาสำนักสงฆ์ร้างมาปลูกสร้างเป็นศาลาที่พักอยู่ข้างโรงเรียน  พอดีพระทั้ง 2 รูปนั้นท่านได้มาตามคำอาราธนาของ  นายน้อย  นางเหรี่ยง  บุศราคำท่านได้มาพักอยู่ที่ศาลาหลังดังกล่าวนั้น  จนจวนเข้าพรรษา  จึงมีปัญหาเกิดขึ้น  เพราะว่าศาลาหลังนั้นเป็นของโรงเรียนพระจะอยู่จำพรรษาไม่ได้
ฉะนั้นบุคคลดังกล่าวต่อไปนั้นเป็นบุคคลสำคัญที่ลืมเสียไม่ได้  คือ 
1. นายสัน (พุ้ย) เกิดเกษม
2. นายสวน  เกิดเกษม
3. นายสร้อย  เกิดเกษม
4. นายสาด  เกิดเกษม
5. นายสวนเกิดเกษม
6. นายรวย  สุขศรี
7. นายน้อย  ช่อดอกไม้
8. นายคำ  เกิดเกษม
9. นายใบ  เกิดเกษม
ท่านเหล่านี้ได้ปรึกษาหารือกัน  เพื่อหาที่ดินถวายสร้างวัด  จึงได้นายสวนและนายสาด  เกิดเกษม  เป็นผู้ถวายที่ดินของ  เพราะอยู่ติดต่อกับโรงเรียน  แต่เป็นเนื้อที่น้อยไม่พอสร้างวัดได้  นายสาด  เกิดเกษม  จึงออกทุนซื้อที่  นายสอน  เกิดเกษม  อีกแปลงหนึ่งซึ่งอยู่ติดกัน  จึงรวมทั้งหมดได้เกือบ 6 ไร่  ฉะนั้นทั้งหมดจึงได้ดำเนินการก่อสร้างพอเป็นที่อยู่จำพรรษาของพระทั้ง 2 ท่านได้  ท่านทั้ง 2 อยู่จำพรรษาในที่นั้นถึง 2 หรือ 3 พรรษา  เมื่อมาถึง พ.ศ. 2510  จึงมีปัญหาไม่สะดวกเกิดขึ้น  เพราะเป็นพระต่างนิกาย  โดยเฉพาะในอำเภอบ้านลาด  ไม่มีวัดธรรมยุตท่านทั้ง 2 จึงคิดจะกลับเมืองปทุมธานีวัดเดิม  แต่ชาวบ้านมีความเลื่อมใสในท่านจึงขออาราธนาให้ท่านอยู่ต่อ  บังเอิญในขณะนั้น  มีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งที่ได้ช่วยผลักดันในเรื่องนี้  คือนายวิเชียร  ไม่ทราบนามสกุล  แต่ทุกคนรู้จักกันในนาม  หมอบาง  บ้านตาลกง  อำเภอท่ายาง  มาพักอยู่ในหมู่บ้านนี้มีวิชาฉีดยา  ให้ยาเมื่อมีคนเจ็บป่วย  เมื่อรู้จุดประสงค์ของชาวบ้านเช่นนั้น  จึงรับอาสาพาท่านเหล่านั้นไปหาที่เจ้าคุณ  พระราชสุทธิโมลี  ในขณะนั้น (ปัจจุบันคือพระเทพสิทธาจารย์)  วัดมหาสมณาราม  (เขาวัง)  เพชรบุรี  ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี (ธรรมยุต)  เมื่อท่านหมอบางและคณะได้กราบนมัสการเรียนถึงจุดประสงค์ให้ที่ทราบ  เมื่อท่านได้ทราบแล้วก็เห็นใจในศรัทธา  ของชาวบ้านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงรับไว้ในปกครองและอุปถัมภ์  ชาวบ้านเหล่านั้นก็ดีใจกราบลงด้วยความตื้นต้นเป็นที่สุด  จึงกราบลาท่านกลับ  ปีนั้นเป็นปี  พ.ศ.  2510  เมื่อชาวบ้านกลับมา  ได้ปรึกษาหารือกันทั้งได้รวบรวมวัสดุตามที่มีแล้วแต่ใครจะหาได้ไปบริจาค  จึงสร้างสร้างกุฏีได้ 4 หลัง   รวม 6 ห้อง  พอเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของภิกษุสามเณรต่อไป
            ต่อมาเมื่อฤดูที่ชาวพุทธนิยมบวชกัน  จึงมีกุลบุตรเข้ามาบวชกัน 3 คนด้วยกันครั้นบวชแล้วทางวัดมหาสมณารามได้ส่งพระอาจารย์มานิต  นักธรรมเอก  พรรษา 10  มาเป็นครูสอนธรรมวินัยแก่ภิกษุสามเณรในสำนักนี้  และมีภิกษุที่ติดตามมาด้วยอีกรูปหนึ่ง  รวมหลวงตามากด้วยเป็น 5 รูปด้วยกัน  เมื่อออกพรรษาท่านพระอาจารย์มานิตท่านกลัยไปวัดเดิมแล้วก็ลาสึกขา  ส่วนพระทั้ง 3 รูปที่บวชในครั้งนั้น  รูปหนึ่งถูกเกณฑ์ทหารจึงสึกคงเหลือ 2 รูป  พรรษาต่อมา

2511  มีผู้ศรัทธาบวชอีกหลายรูป  ทางวัดมหาสมณาราม  ได้ส่งพระครูปลัดประชุม  ธมฺมธโร  ทองอินทร์ดำ  มาปกครองแทน

2512  มีกุลบุตรเข้ามาบวชจำนวน  6  รูปในจำนวนนั้นมีพระเอกวิทย์  อิสฺสโร (เสริ่ญ)  กลัดทอง  รวมอยู่ด้วย เมื่อออกพรรษารับกฐิน  และสอบนักธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทั้งเก่าทั้งใหม่รวม 7 รูปด้วยกัน  พากันลาสิกขาไปกันหมด  เหลือแต่รูปเดียวคือ  พระเอกวิทย์  ทั้งที่บวชใหม่หมือนกัน  ต้องอยู่ดูแลสำนักเรื่อยมา
2513  มีผู้เข้ามาบวชอีกจำนวน 6 รูป สามเณร 2 รูป  เมื่อก่อนเข้าพรรษาหนึ่งวัน  ทางวัดมหาสมณาราม  ได้สั่งให้พระมหาสังเวียน  สีลสํวโร  เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี(ธรรมยุต)  มาช่วยสอนพระภิกษุสามเณรในสำนัก  ปัจจุบันคือ  (พระกิตติสารกวี)  เมื่อออกพรรษารับกฐินแล้ว  ท่านก็กลับวัดเดิมและไปศึกษาต่อที่ในกรุงเทพฯ  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  พระเอกวิทย์  ต้องดูแลสำนักเองและฝึกหัดผู้บวชใหม่มาตลอด  ทั้งได้จัดการสร้างวัดและขยายที่ดินให้กว้างขึ้น  โดยซื้อที่ดินอันติดต่ออยู่กับที่วัดจนกว้างขึ้น  จากจำนวน 6 ไร่  จนปัจจุบันมีเนื้อที่  24 ไร่ 1 งาน 15 ตารางวา  โดยนายสิน  นางเพิ่ม  เกิดเกษม  ถวายเมื่อวันที่  13  มีนาคม  2529  จำนวน 798 ตารางวา  จึงดำเนินการขออนุญาตสร้างวัด  โดยมีนามของ  นายชิต  เกิดเกษม  ซึ่งเป็นบุตรชายของนายสวน  เกิดเกษม  ผู้ที่ถวายที่ดินสร้างวัดตอนนี้เสียชีวิตแล้ว  ได้รับอนุญาตให้สร้าง  เมื่อวันที่  2  กรกฎาคม  2527  ได้รับอนุญาตให้เป็นวัดเมื่อ  วันที่  17  มกราคม  2528  จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดจึงมาแต่งตั้ง  พระเอกวิทย์  อิสฺสโร  เป็นเจ้าอาวาส  เมื่อวันที่  15  กุมภาพันธ์  2528  เมื่ออายุ 35  พรรษา 16  จากนั้นจึงดำเนินการขอวิสุงคามสีมา  ได้รับพระราชทานเมื่อ วันที่  4 กรกฎาคม  2529  จัดงานวางศิลาฤกษ์อุโบสถเมื่อ  วันที่ 13 มีนาคม  2529  ยกช่อฟ้าอุโบสถ  เมื่อวันที่  21 มกราคม  2532 แล้วดำนินการตกแต่งภายในจนสำเร็จโดยสิ้นค่าก่อสร้างไปประมาณ  4,500,000บาท  โดยใช้เวลานานถึง 15 ปี และเมื่อ  วันที่ 21- 29  มกราคม  2544 ได้ทำการผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต  ทั้งหมดนี้ที่สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจด้วยกันทุกฝ่าย  ที่สำคัญที่สุดก็คือต้องมีทั้งอด  ทั้งทน  และอุปการะจากพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
 

ประวัติย่อวัดหนองจอก

     ก่อนเป็นวัด,หนองจอก,ขอบอกกล่าว 
มีเรื่องราว,ยาวสั้น,นานมากโข
เป็นตำนาน,จารึก,ไว้ปึกโต                          
นำมาโชว์,เล่าความ,ตามเป็นจริง
      พุทธศักราช,สองห้า,ศูนย์แปด               
ในระแวด,ถิ่นนั้น,กันดารยิ่ง
ไม่มีวัด,มีพระ,จะพึ่งพิง                                
ต้องตรงดิ่ง,ทำบุญแทน,อันแสนไกล
      จึงมีพระ,หลวงตา,ผ่านมาเที่ยว              
ใช่รูปเดียว,มาสาม,นามท่านไซร้
มีพระมาก,พระแหวน,แสนดีใจ                   
ชาวบ้านได้,อาราธนา,มาประจำ
      รูปที่สาม,คือพระต่วน,ชวนโยมสร้าง   
ท่านมาค้าง,ทำที่อยู่,ดูน่าขำ
สร้างคล้ายโบสถ์,ฝาล้อม,มาน้อมนำ           
ท่านมุ่งทำ,ปั้นพระ,ไว้บูชา
      พุทธศักราช,สองพัน,ห้าร้อยสิบ            
อยู่ไกลลิบ,ญาติโยม,มุ่งไปหา
ท่านเจ้าคุณ,เขาวัง,หวังเมตตา                       
ท่านอาสา,รับไว้,ในปกครอง
      ส่งอาจารย์,มานิตย์,เป็นหัวหน้า             
ชาวบ้านพา,ลูกหลาน,มาสนอง
อุปสมบท,เป็นพระ,ตามครรลอง                
ปีนั้นครอง,พรรษา,ห้าหกองค์
      พุทธศักราช,ห้าร้อย,สิบเอ็ด                   
มีพร้อมเสร็จ,หกองค์,คงประสงค์
พระครูปลัด,ประชุมหนา,มาดำรง               
ปกครองสงฆ์,ในสำนัก,เพื่อหลักชัย
      อยู่ได้สอง,พรรษา,ท่านลาสึก                
ไปอยู่ลึก,พุตุม,ชุ่มน้ำใส
ได้ประกอบ,สัมมานั้น,อันวิไล                    
มีลูกได้,บวชเพียร,เรียนพระธรรม
      พุทธศักราช,ห้าร้อย,สิบสอง                  
เราทั้งผอง,หกชาย,ใจงามขำ
สมัครบวช,ใจพร้อม,ได้น้อมนำ                  
เคยมืดดำ,มิรู้ธรรม,องค์สัมมา
      มุ่งศึกษา,นักธรรม,จำจดหลัก                
จึงตระหนัก,โอวาท,พระศาสนา
ออกพรรษา,หายหด,หมดศรัทธา                 
ต่างสึกลา,ไกลลับ,กลับบ้านตน
      เหลือพระใหม่,องค์เดียว,เปลี่ยวใจเศร้า
ได้อยู่เฝ้า,สำนัก,หนักขัดสน
อยู่เดียวดาย,ใกล้ดง,พงสกล                        
อยู่จวบจน,ใกล้พรรษา,ปีหนึ่งสาม
      กุลบุตร,มีศรัทธา,อาสาบวช                   
เพื่อสำรวจ,จิตใจ,ใครมิหยาม
รวมเจ็ดคน,เป็นพระเณร,เห็นแล้วงาม
เพื่อทำตาม,สวยสุด,พุทธองค์
       เข้าพรรษา,พระมหา,สังเวียน                 
ท่านพากเพียร,มาสอน,จุดประสงค์
รักษาธรรม,เอาไว้,ให้มั่นคง                         
เพื่อดำรง,ศาสนา,มายืนนาน
      ออกพรรษา,กลับลา,ศึกษาต่อ                
ยังไม่พอ,เข้ากรุง,มุ่งสมาน
เหลือพระใหม่,องค์เดียว,เปลี่ยวพอการณ์  
น่าสงสาร,เฝ้าสำนัก,พักผู้เดียว
      อดและทน,ปนเศร้า,เฝ้าสำนัก                
เพียรอย่างหนัก,เงียบเหงา,และเปล่าเปลี่ยว
ท่องและบ่น,เรียนสร้าง,จนคางเรียว           
ทุกสิ่งเสี้ยว,ในวัด,พัฒนา
      โบสถ์วิหาร,ศาลา,กุฎีสงฆ์                      
สิ่งมั่นคง,ในวัด,จัดสรรหา
ชีวิตนี้,อุทิศให้,ไม่นำพา                               
ใช้เวลา,หลายยาม,สี่สิบสามปี
      จะมุ่งมั่น,ต่อไป,จนกายดับ                    
มิย้อนกลับ,สู่โลก,โศกหมองศรี
จะรับใช้,พุทธองค์,คงความดี                      
จวบชีพนี้,สลาย,มิคลายธรรม....ฯ
                                         ๒๗  มิ.ย. ๕๕ อิสฺสโร ภิกฺขุ