วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
414 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
19 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
458 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
249 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
296 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
212 รูป
ลาสิกขา
5 รูป
มรณภาพ
2 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. อ่างทอง
วันที่ 25-05-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 15-05-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
QR Code วัดเขาตะเครา
รหัสวัด :
02760708001
ชื่อวัด :
วัดเขาตะเครา
นิกาย :
มหานิกาย
ประเภทวัด :
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด :
ปี 2307
วันรับวิสุงคามสีมา :
วันที่ 08 เดือน กันยายน ปี 2498
ที่อยู่ :
ม.5
เลขที่ :
-
หมู่ที่ :
-
ซอย :
-
ถนน :
-
แขวง / ตำบล :
บางครก
เขต / อำเภอ :
บ้านแหลม
จังหวัด :
เพชรบุรี
ไปรษณีย์ :
76110
เนื้อที่ :
88 ไร่
3 งาน
20 ตารางวา
โทรศัพท์ :
032-409188 , 032-409277
คุณสมบัติวัด :
เป็นวัดท่องเที่ยว
จำนวนเข้าดู :
14417
ปรับปรุงล่าสุด :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
ข้อมูลเมื่อ :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
 
 
 
 
ประวัติวัดเขาตะเครา
วัดเขาตะเครา ตั้งอยู่ริมคลองบางครก ซึ่งแยกจากแม่น้ำเพชรบุรี ที่ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ไหลลงสู่อ่าวไทย ที่ปากอ่าวบางตะบูน ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่ก่อสร้างมาช้านานยังไม่ปรากฏแน่ชัด ว่าสมัยใด แต่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏในบทประพันธ์ “เพลงยาวหม่อมพิมเสน” ในสมัยอยุธยา คือ ข้ามท้องสาครชะเลมา
ก็ลุถึงปากน้ำบางตะเครา
ยิ่งแลเห็นเปล่าเศร้าใจใฝ่หา
จรดลตามชลมารคมา
หมายตามมณฑปวัดเขาดิน
เห็นเหมือนมณฑปวัดศพสวรรค์
ยิ่งร้อนรัญจวนนักหนักถวิล
ที่แล่นสูงล้วนฝูงกุมภิน
(สมัยอยุธยา เรียกวัดเขาตะเคราว่า วัดเขาดิน)
          จากบทประพันธ์นี้พอเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สันนิษฐานได้ว่า วัดเขาตะเครา เป็นวัดเก่าแก่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณทั้งนี้เพราะมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งที่คนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา หรือหลวงปู่ทองวัดเขาตะเครา หรือหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา”
ดังจะเห็นได้จากนิราศของมหากวีเอกสุนทรภู่ของไทยที่กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
ครู่หนึ่งถึงเขาเคราสวาท
มีอาวาสวัดวามหาเถร
มะพร้าวรอบขอบเขตที่บริเวณ
พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ
กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้
ขึ้นไปไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน
เขานับถือลือมาแต่แต่บุราณ
ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อนฯ
          สุนทรภู่ประพันธ์บทนิราศเมืองเพชรไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ เป็นหลักฐานสำคัญอันหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าหลวงพ่อวัดเขาตะเคราหรือหลวงพ่อทองเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีชาวบ้านเคารพนับถือมาช้านานแล้วสุนทรภู่คงทราบกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ ผ่านมาจึงแวะขึ้นนมัสการ
          นอกจากนี้ยังมียังมีหลักฐานจารึกเป็นภาษาจีนติดแผ่นป้ายอยู่ที่วัดเขาตะเคราปัจจุบันนี้อีก ๕ แผ่น ซึ่งแผ่นหนึ่งแปลได้ความว่าช่วยบำบัดทุกข์ประชาชนอีกแผ่นหนึ่งแปลว่า ลูกศิษย์หลวงพ่อชื่อเฮงเจี๊ยมชัวเป็นผู้ถวาย อีกแผ่นหนึ่งบอกถึงบ้านเกิดของลูกศิษย์คนนั้นอยู่ที่ไคง้วนเลี้ยงไผ่ขงจั๊วเหล่านี้นับเป็นหลักฐานยืนยันอีกประการหนึ่งถึงความสำคัญของพระพุทธรูปองค์นี้
ทำไมจึงได้ชื่อว่า วัดเขาตะเครา
          เขาตะเครานี้สันนิษฐานเอาว่ามีเจ้าสัวจีนผู้หนึ่งมีความศรัทธามาก เมื่อได้พระพุทธรูปมาเป็นมิ่งขวัญแล้วจึงได้สละทรัพย์สร้างเป็นวัดขึ้นโดยให้ลูกน้องคนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อคอยควบคุม ซึ่งเป็นชาวจีนเหมือนกัน จีนผู้ควบคุมนี้เขาไว้หนวดเครายาว เพราะเป็นที่นิยมของชาวจีนสมัยโน้นชาวบ้านเห็นเห็นจีนไว้เครายาว ดังนั้น จึงเรียกวัดและเขา ผนวกกันเข้าไปว่า “วัดเขาจีนเครา”ต่อมาคำว่าจีนเป็นคำเรียกยากและไม่คุ้นหูชาวบ้านในสมัยต่อมาจึงเปลี่ยน “จีน” เป็น “ตา” เพราะง่ายดีและเป็นชื่อที่เหมาะสมของคนที่สูงอายุ เรียกว่าภาษาพาไป เมื่อกาลเวลานานมา ภาษาคงกร่อนเข้า “สระอา”เป็น “สระอะ”ไปจึงเปลี่ยน “ตา” เป็น “ตะ” เมื่อสรุปแล้วได้ความตามปัจจุบันว่าเขาตะเครา
ประวัติหลวงพ่อวัดเขาตะเครา
          พระพุทธรูปหลวงพ่อวัดเขาตะเคราหรือหลวงพ่อทองวัดเขาตะเคราที่เห็นปรากฏภายนอกเป็นพระพุทธรูปปางมาวิชัยหรือปางคุ้มมาร สูง ๒๙ นิ้ว หน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว ภายนอกเห็นเป็นปูนปั้นลาย นัยว่าภายในองค์พระเป็นทองคำหรือทองสัมฤทธิ์ มีประวัติสังเขปดังนี้
          เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๒ สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ก่อนเสียกรุงต่อพม่า ชาวบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี ได้อพยพหนีข้าศึกพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ปากคลองแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ใกล้วัดล้างวัดหนึ่ง ชื่อ วัดศรีจำปา ซึ่งหมดสภาพ เป็นวัดล้างแล้วชาวบ้านแหลมอพยพไปอยู่บริเวณนั้นได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า “วัดแหลมหรือวัดบ้านแหลม”ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง วันหนึ่งได้ออกไปลากอวนหาปลาน้ำตื้นบริเวณชายฝั่งทะเลปากอ่าว บังเอิญปากอวนได้สะดุดติดกับวัตถุใต้น้ำซึ่งทุกครั้งเข้าใจว่าเป็นตอไม้แต่ครั้งนี้ได้ช่วยกันลงไปงมวัตถุที่ติดกับปากอวนขึ้นมาปรากฏว่าสิ่งที่งมได้นั้น เป็นพระพุทธรูป ๒ องค์  เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สูง ๖ ฟุต ๑ องค์ อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสูง ๒๙ นิ้ว หน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว จึงนำพระพุทธรูปทั้งสององค์ ไปประกิษฐานไว้ที่โรงมุงด้วยจากข้างหมู่บ้านก่อน ต่อมาเมื่อสร้างวัดเสร็จจึงนำพระพุทธรูปองค์ยืน ปางอุ้มบาตรนั้นประดิษฐานที่วัดนั้นและเรียกชื่อพระพุทธรูปว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หรือ หลวงพ่อบ้านแหลม” ตามชื่อของชาวบ้านนั้น ต่อมาวัดบ้านแหลมได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงชื่อว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร”ส่วนพระพุทธรูปองค์นั่งปางมารวิชัยชาวบ้านได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วิหารบนยอดเขาตะเครา และเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นเวลานานกว่าสองร้อยปี พุทธศาสนิกชนทั้งหลายต่างเคารพนับถือล่ำลือในความศักดิ์สิทธิ์มาเป็นเวลานานได้มานมัสการปิดทององค์หลวงพ่อกันมากโดยมิได้มีการลอกทองคำที่ปิดออกเลยนับเป็นเวลาร้อยๆ ปี กระทั่ง ตา หู จมูก มองไม่เห็นเลยองค์ท่านกลมเหมือนลูกฝัก จึงเรียกว่า “หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา”
ปาฏิหาริย์หลวงพ่อสละทอง
          เล่าปรากฏการณ์โดย ท่านเจ้าคุณพระมงคลวชิราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาตะเครา ท่านเล่าว่าคณะนั้นท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๗
ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่านเจ้าคุณฯเองและได้มีการจัดฉลองซึ่งขณะนั้นอยู่ระหว่างการก่อสร้างมณฑป (ที่ประดิษฐานหลวงพ่อทองเวลามีงานประจำปี) และถัดจากวันเกิดของท่านเจ้าคุณฯอีก ๒ วัน คือวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๒๗ เป็นเวลากลางคืนซึ่งท่านเจ้าคุณฯกำลังนอนหลับและฝันว่า ได้มีพระอายุมากรูปหนึ่งได้นำถุงบรรจุทองคำยื่นให้กับท่านและพระอายุมากรูปนั้นได้พูดขึ้นว่า “เอาไป” หลังจากนั้นพระอายุมากรูปนั้นก็ได้จากไป พอวันรุ่งขึ้น วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๒๗ ท่านเจ้าคุณฯได้เล่าความฝันให้พระลูกศิษย์ฟังจบแล้วก็ได้พูดขึ้นว่าสงสัยจะได้ลาภจากการถูกล๊อตเตอรี่เป็นแน่
          ต่อมาในวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๒๗ เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. มีสามเณรรูปหนึ่งได้วิ่งมาบอกท่านเจ้าคุณฯว่าได้เกิดไฟไหม้โบสถ์ ท่านเจ้าคุณฯและสามเณรรูปนั้นจึงได้วิ่งไปดูที่โบสถ์และสิ่งที่เกิดขึ้นต่อหน้าท่านเจ้าคุณฯขณะนั้นคือ ได้เกิดเพลิงไหม้ลุกท่วมองค์หลวงพ่อทองและไฟได้ลามไหม้ขึ้นยอดฉัตรและสายสิญจน์ที่โยงมาจากพระประธาน ปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ดังกล่าวได้ทำให้ทองคำที่ติดอยู่ที่องค์หลวงพ่อทอง ได้หลอมไหลออกมาจากองค์หลวงพ่อทอง และเมื่อนำทองคำมาชั่งน้ำหนักดูปรากฏว่าได้น้ำหนักถึง ๙ กิโล ๙ ขีด ท่านเจ้าคุณพระมงคลวชิราจารย์จึงได้นำทองคำดังกล่าวมาทำเป็นลูกอมทองไหล ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปทองทรงกลมและมีรูปหลวงพ่อทองติดอยู่หุ้มด้วยพลาสติกสีเหลืองใสหล่อเป็นรูปดอกบัวบ้าง เป็นรูปทรงกลม(มะนาว)บ้าง เป็นรูปลูกเชอรี่บ้างบ้าง ให้ประชาชนทั่วไปได้เช่าบูชา
          ทำรายได้ให้วัดเป็นจำนวนเงินถึง ๑๑ ล้านบาทเศษ ท่านเจ้าคุณฯจึงนำเงินรายได้ไปสร้างมณฑป สร้างโรงเรียน สร้างทางเดินประปา สร้างศาลาเอนกประสงค์และอื่นๆ อีกมากมาย
          นอกจากนี่วัดเขาตะเครายังมีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์และชาวบ้านให้ความนับถือและเคารพสักการะอีก ๒ องค์ คือ
          หลวงพ่อเทวฤทธิ์ ปัจจุบันเป็นพระประธาน ในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบเทวรูปหน้าตักกว้าง ๗๗ นิ้ว สูง ๕๔ นิ้ว เนื้อปูน เป็นพระเก่าแก่องค์หนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเก่าแก่กว่าการตั้งวัดเพราะพุทธลักษณะเป็นแบบเดียวกับพระประธานในอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและการปั้นก็ลักษณะเดียวกัน ปูนก็เป็นชนิดเดียวกัน พูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็ไม่แพ้หลวงพ่อทองเหมือนกันและเป็นที่ปรากฏถึงความศักดิ์สิทธิ์ของถิ่นนี้หรือจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเช่นเดียวกับหลวงพ่อ(ทอง) วัดเขาตะเคราควบคู่กันไป
          อนึ่ง เมื่อคราวสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าตรวจการคณะสงฆ์ในจังหวัดเพชรบุรีผ่านมาทางวัดเขาตะเคราได้ขึ้นมานมัสการ ยังปรารภว่า พิจารณาดูพุทธลักษณะและความเก่าของกากเนื้อปูนแล้วน่าจะศักสิทธิ์และก็ศักดิ์สิทธิ์จริงเพราะปรากฏเหตุการณ์มาแล้ว
          หลวงปู่หมอ ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารบนยอดเขาตะเคราสร้างจำลองแบบหลวงพ่อ(ทอง)วัดเขาตะเครา หน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว สูง ๗๗ นิ้ว ปั้นด้วยปูนขาวผสมน้ำอ้อยและหนัง ตามประวัติเข้าใจว่าเมื่อชาวบ้านแหลมได้นำพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่งมพบที่แม่กลองมาประดิษฐานที่วิหารบนยอดเขาตะเคราก่อนทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการนมัสการเมื่อผ่านไปมาระหว่างแม่กลองกับบ้านแหลมถิ่นกำเนิดของตน เพราะเมื่อก่อนนี้ทะเลกับวัดเขาตะเคราห่างกันประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ เมื่อผ่านทางทะเลย่อมแลเห็นเขาตะเคราชัดเจนไม่ต้องแวะขึ้นมานมัสการเพียงแต่ผ่านทางทะเลก็นมัสการได้จึงนำหลวงพ่อทองมาประดิษฐานบนยอดเขาตะเคราก่อน ต่อมาชายฝั่งทะเลได้งอกออกไปไกลผู้ที่มานมัสการจะขึ้นเขาไปนมัสการก็ลำบาก (สมัยก่อนไม่มีรถรางไฟฟ้าหรือบันไดขึ้นลงเหมือนปัจจุบัน) มีแต่ทางเดินคดเคี้ยวขึ้นลง ยิ่งเป็นผู้สูงอายุยิ่งลำบากมาก ผู้มีความรับผิดชอบในสมัยนั้นจึงย้ายหลวงพ่อท่านมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถเชิงเขาเป็นพระประธานองค์ที่ ๒ รองจากหลวงพ่อเทวฤทธิ์ เมื่ออาราธนาหลวงพ่อ(ทอง)วัดเขาตะเคราลงมาจึงได้สร้างองค์จำลองรูปหลวงพ่อ(ทอง) วัดเขาตะเครา แต่องค์ใหญ่กว่า เพื่อมิให้วิหารว่างเปล่า เข้าใจว่า สร้างมานานร่วม ๒๐๐ กว่าปี
          ในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญ การคมนาคมยังไม่สะดวกเช่นปัจจุบัน ประชาชนในสมันยนั้นจึงต้องพึ่งพาตนเอง เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็พากันมาเก็บสมุนไพรบนเขา และถือว่าเป็นยาของหลวงพ่อ เมื่อพลีสมุนไพรได้มาก็อธิษฐานบนบานก่อนจะนำไปรับประทานแล้วก็หายได้ผลตามคำอธิษฐาน จึงนิยมเรียกว่า หลวงพ่อหมอ
เจ้าอาวาสวัดเขาตะเคราเท่าที่พอจะสืบค้นได้ คือ
๑.พระอธิการทรัพย์ สันนิษฐานว่าเป็นเจ้าอาวาสระหว่างประมาณ พ.ศ.๒๔๓๐ – ๒๔๖๐ เป็นชาวบางครก อุปสมบทที่วัดทุ่งเฟื้อ(ปัจจุบันวัดเฟื้อสุธรรม) ต่อมาได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาตะเคราได้เป็นเจ้าอาวาสและได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับ เป็นพระมีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ชาวบ้านเชื่อว่าท่านมีตาทิพย์ จึงเรียกว่าหลวงพ่อตาทิพย์
          ๒.พระอธิการห้อย เป็นเจ้าอาวาสอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๐ –๒๔๗๐ เป็นชาวบ้านแหลมอุปสมบทที่วัดปากคลอง ต.บางครก แล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาตะเครา ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ประมาณ ๑๐ ปี จึงลาสิกขาบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ระหว่างที่อยู่เป็นเจ้าอาวาส เป็นพระที่มีชื่อเสียงทางเป็นนักเทศน์ฝีปากเอก ผลงานที่ทำไว้คือสร้างรูปจำลองพระอธิการทรัพย์ไว้บูชา หล่อรูปหลวงพ่อบ้านแหลมซึ่งตามประวัติว่าเป็นพระพี่น้องกับกับหลวงพ่อเขาตะเคราไว้ให้ประชาชนสักการบูชา และหล่อรูปแม่ชีพราหมณ์ขึ้นแทนของเดิมที่ปั้นด้วยปูนซึ่งขณะนี้ประดิษฐานไว้ ณ ศาลาเชิงบันไดอุโบสถ
          ๓.พระอธิการอินทร์ พฺรหมฺโชติ เป็นเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๙๕ เป็นชาวบางตะบูนนามสกุลเดิม เอี่ยมสำอาง ตอนเด็กเป็นลูกศิษย์วัดปากลัดต่อมาได้มาอยู่กับพระอธิการทรัพย์อุปสมบทที่วัดปากคลองบางครก (ตอนนั้นพระอธิการทรัพย์ยังมิได้เป็นพระอุปัชฌาย์) แล้วมาอยู่จำพรรษาที่วัดเขาตะเคราเป็นนักปฏิบัติธรรมและนักพัฒนาผลงานที่สำคัญอาทิสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุด เป็นผู้ริเริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่(แต่ยังไม่เสร็จก็มาณภาพก่อน) ย้ายกุฏิสงฆ์ใหม่ให้เป็นหมวดหมู่ จัดงานนมัสการหลวงพ่อ(ทอง)วัดเขาตะเคราประจำทุกปี เป็นต้น
          ๔.พระมงคลวชิราจารย์ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ –  พ.ศ. ๒๕๕๓ ฉายา สงฺฆโสภโณ สถานะเดิมชื่อ ประสพ (สุข) นามสกุล แสงสุริยา เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นลูกศิษย์ พระอธิการอินทร์ พฺรหมฺโชติ อุปสมบทที่วัดเขาตะเครา เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ พระครูมหาวิหาราภิรักษ์  วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
          วิทยฐานะ พ.ศ. ๒๔๘๘ สำเร็จ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนศรีประสิทธิ์วิทยา ยานนาวา พระนคร
          การศึกษาปริยัติธรรมได้คุณวุฒินักธรรมชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๐๓ สำนักเรียนวัดเขาตะเครา
          การทำงาน พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นครูสอนปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดเขาตะเครา
          พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นครูช่วยสอนโรงเรียนประชาบาลวัดเขาตะเครา
          พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นกรรมการดำเนินการสอบธรรมสนามหลวง
          พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสให้เป็นผู้บริหารงานแทนเจ้าอาวาส
          พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาตะเครา
          พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์
          พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางครก-ท่าแร้ง
          พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
          พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามว่า “พรครูวชิรกิจโสภณ”      
          พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม เป็นองค์อุปถัมภ์สภาครู อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
          พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม
          พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานธรรมจักร(ทองคำ)จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
          พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามว่า “พระมงคลวชิราจารย์” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
          ขณะที่ยังมิได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เป็นกำลังสำคัญของพระอธิการอินทร์ พฺรหมฺโชติ ในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัดและชุมชนเป็นอย่างมากเมื่อได้เป็นเจ้าอาวาสแล้วได้วางโครงการพัฒนาครั้งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะหลังจากคราวได้รับพระเมตตากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนิน ณ วัดเขาตะเครา เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗