วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
414 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
19 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
458 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
249 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
296 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
212 รูป
ลาสิกขา
5 รูป
มรณภาพ
2 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. อ่างทอง
วันที่ 25-05-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 15-05-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
บทบาทพระสังฆาธิการในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เรื่องการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส

การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส

บทบาทพระสังฆาธิการในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส

           พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๙ บัญญัติว่าในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาสหรือเจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาส บทบัญญัติมาตรานี้ในกรณีไม่มีเจ้าอาวาสหมายถึงกรณีใดบ้าง ต้องดูกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.) ๒๕๔๑ ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ข้อ ๓๖ พระสังฆาธิการย่อมพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ เมื่อ
๑)      ถึงมรณภาพ
๒)      พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
๓)      ลาออก
๔)      ย้ายออกไปนอกเขตที่ตนมีสำนักอยู่
๕)      ยกเป็นกิตติมศักดิ์
๖)      รับตำแหน่งหน้าที่เจ้าคณะหรือรองเจ้าคณะอื่น
๗)      ให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่
๘)      ถูกปลดจากตำแหน่งหน้าที่
๙)      ถูกถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่
         ดังนั้นเมื่อมีกรณีที่ไม่มีตำแหน่งเจ้าอาวาสตามกรณีข้างต้น ก็จำเป็นต้องยึดหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาเถรสมาคมได้ออกกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ในข้อ ๔ กำหนดว่าในกรณีไม่มีเจ้าอาวาส จะแต่งตั้งเจ้าอาวาสทันทีมิได้ ให้เจ้าคณะตำบลแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส.........แล้วรีบรายงานตามลำดับจนถึงเจ้าคณะจังหวัด แล้วถ้าเจ้าอาวาสถูกถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่ แล้วยอมรับผลตามที่เจ้าคณะผู้ปกครองสั่งเรื่องก็จบ แต่ถ้าเจ้าอาวาสร้องอุทธรณ์คำสั่ง เรื่องราวต่างๆจึงเกิดเป็นคดีดังคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๖๐๕/๒๕๒๑ ว่า โจทก์คือพระภิกษุดำ เป็นเจ้าอาวาสแห่งหนึ่งฟ้องจำเลยคือพระภิกษุขาว ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลบางนา เป็นจำเลยต่อศาลยุติธรรมว่า เจ้าคณะจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรีได้มีคำสั่งลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ให้ถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เจ้าอาวาส โจทก์ยื่นอุทธรณ์ทุกข์อุทธรณ์คำสั่งอยู่ ในวันนั้นเองจำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส โดยเจตนาทุจริตได้ออกคำสั่งแต่งตั้งพระภิกษุเขียวเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสแทนโจทก์ ทั้งที่ตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดยังไม่ว่าง เป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เหตุเกิดที่ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง และที่ตำบลวัดสามพระยา อำเภอพระนคร กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน ขอให้ลงโทษจเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗
          ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ว พิพากษายกฟ้อง
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาเห็นว่าตามคำฟ้องฟังได้ว่า เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๑๘ เจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรีมีคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส เพราะกระทำความผิด ในวันเดียวกันนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลบางจาก ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้พระภิกษุเขียวเป็นผู้รักษาการแทน โจทก์จึงกล่าวหาจำเลยเป็นคดีนี้ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งตามกฏมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๐๖) ข้อ ๔๕ บัญญัติให้พระสงฆ์ซึ่งถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษฐานละเมิดจริยา ต้องปฏิบัติตามทันที ฉะนั้น คำสั่งถอดถอนโจทก์จึงมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์อุทธรณ์คำสั่งนั้นหรือไม่ และถือได้ว่าเป็นกรณีไม่มีเจ้าอาวาสตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ การที่จำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว
           พิพากษายืน
           คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลเป็นคดีอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗ ซึ่งศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องไปและให้เหตุผลชัดเจนว่าตามกฏมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๐๖) ข้อ ๔๕ บัญญัติให้พระสงฆ์ซึ่งถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษฐานละเมิดจริยา ต้องปฏิบัติตามทันที ฉะนั้น คำสั่งถอดถอนโจทก์จึงมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์อุทธรณ์คำสั่งนั้นหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมหาเถรสมาคมได้ออกกฎมหาเถรสมาคมที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๔๑) แทนฉบับเดิมบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ในข้อ ๕๓ ก็พอจะเป็นอุทธาหรณ์ให้เจ้าอาวาสพึงระวังในการปฏิบัติหน้าที่และพึงรักษาจริยาพระสังฆาธิการตามกฎมหาเถรสมาคมโดยเคร่งครัด
http://skn.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=199&Itemid=155

ผู้แต่ง :
พระคัมภีร์เทพ ธมฺมิโก (คัดลอกมา สำนักงานพระพุทธศาสนาสมุทรสาคร))
ที่อยู่ :
ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง
จำนวนเข้าดู :
7970
ปรับปรุงล่าสุด :
9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 19:43:08
ข้อมูลเมื่อ :
9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 19:43:08