วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
อานิสงส์การสร้างพระไตรปิฎก
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในเมืองสาวัตถี อันเป็นอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้าผู้มีอายุ ปรา ถนาจะให้พระพิชิตมารโปรดประทานซึ่งพระธรรมเทศนา แสดงอานิสงส์ในการที่บุคคลที่ได้สร้างพระไตรปิฎก ใว้ในพระบวรพุทธศานาให้พิศดาร เพื่อสาธุชนทั้งปวงให้ถึงปสันนาการเลื่อมใส อุตสาหะสร้างพระไตรปิฎก อันเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระบวรศาสนา จึงได้เข้าไปทูลถามปัณหาว่า "ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ บุคคลใดผู้มีจิตใจประกอบด้วยศรัทธา ได้สร้างพระไตรปิฎกถวายในพระพุทธศานาแล้ว จักได้รับผลานิสงส์เป็นประการใด ขอได้โปรดชี้แจงอานิสงส์แห่งบุญ ของบุคคลผู้สร้างพระไตรปิฎกให้แก่หม่อมฉันได้สดับรับฟัง ณ กาลบัดนี้เถิดพระพุทธเจ้าข้า" ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธฎีกาตรัสว่า "ดูก่อนสารีบุตร อันบุคคลผู้ใดสร้างพระไตรปิฎกถวายไว้ในศาสนานี้ ย่อมได้อานิสงส์เป็นอันมาก สุดจะนับได้ทั้งสิ้นเล่า เฉพาะอานิสงส์แห่งอักขระตัวเดียว ก็จะนับประมาณมิได้ สารีบุตร ผลานิสงส์แห่งบุคคลผู้ได้สร้างซึ่งอักขระตัวเดียวไว้ในศาสนานี้ ก็ให้ผลยังตนให้ประสบสุขสิ้นกาลช้านานคือ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นเวลานานถึง ๘๔,๐๐๐ กัปล์ จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในประเทศราชเป็นเวลาช้านานถึง ๙ อสงไขย จะได้เสวยสมบัติในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เป็นพราหมจารย์ มีปัญญามาก มีสมบัติมหาศาลเป็นเวลา ๙ อสงไขย จะได้เป็นมหาเศรษฐีผู้ใหญ่มีสมบัติมากเป็ยเวลา ๙ อสงไขย และได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวดี เหล่านี้ชั้นละ ๙ อสงไขย เป็นกำหนด ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว ก็จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก จะได้เป็นคนมีทรัพยนับวิชา มากด้วยสมบัติศฤงคารบริวาร จะได้เป็นคนมี สัตย์ ยินดีอยู่ในการบำเพ็ญกุศล จะได้เป็นคนมีรูปโฉมงดงาม มีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ชนทั่วไป จะบริบูรณ์พูนเกิดไม่รู้จักบกพร่อง ทั้งนี้เพราะอานิสงส์แห่งอักษรตัวเดียว ของบุคคลผู้สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระศาสนา การที่กำหนดอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎกนั้นเป็นอาจินไตย ฯ สา รีบุตรเอย เมื่อครั้งพระศานาพระปุราณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งนั้นคถาคตยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของสมเด็จบรมกษัตริย์ ผู้เป็นพุทธบิดาแห่งพระปุราณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า คถาคตได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระศาสนา ณ กาล ครั้งนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า "ในอนาคตอำมาตย์นี้จักได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สมณโคดม สมด้วยพระนามของคถาคตในกาลบัดนี้ฯ " อนึ่งได้ทรงพยากรณ์ว่า "พระพุทธมารดาแห่งคถาคตนี้ จักทรงมีพระนามว่า สิริมหามายาราชเทวี พระพุทธบิดาจักทรงพระนามว่า สิริสุทโธทนมหาราช ทรง พยากรณ์ต่อไปว่า "เมื่อคถาคตได้ตรัสรู้แล้ว จะทรงทรงมีพระชนม์ ๘๐ พรรษา แล้วจะดับขันธ์หันพระพักตร์เข้าสู่พระปรินิพพาน จะทรงประทานพระศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ พรรษา" ก็สมด้วยพระพุทธฎีกาสิ้นด้วยประการฉะนี้ฯ ครั้นตรัสแสดงอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎกแก่พระสารีบุตรดังนี้ ต่อมาพระองค์ได้ตรัสเทศนาแสดงอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎก แต่พระเจ้าประเสนทิโกสนราชว่า "บุคคลได้สร้างพระไตรปิฎกโดยเขียนเองก็ดี จ้างคนอื่นเขียนก็ดี จะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ ให้ สำเร็จปราถนาทุกประการ ให้สำเร็จสมบัติทั้ง ๓ ประการคือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ อักขระแต่ละตัว มีอานิสงส์เท่ากับการสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง อักขระที่จารึกพระไตรปิฎก ยังประดษฐานอยู่ตราบใดก็ชื่อว่าพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่ตราบนั้นฯ" อันพระไตรปิฎกนี้จัดเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระศาสนา ดังนั้นผู้สร้างพระไตรปิฎกจึงมีผลานิสงส์มาก พระสารีบุตรเถรเจ้ามีปัญญามากก็เพราะอานิสงส์ที่ได้สร้างพระไตรปิฎกแล ครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปุสสะ พระสารีบุตรเกิดเป็น สุชาตมานพ มีภรรยาชื่อนางนันทา มีบุตรคนหนึ่งชื่อชื่อคันธกุมาร มีใจเลื่อมใสศรัทธาใคร่สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระพุทธศาสนา ให้ พระพระสังฆเถร เขียนพระไตรปิฎกไม่ปรากฎจำนวนเพราะไม่มีปรากฏในบาลี ครั้นพระเถรเจ้าเขียนเสร็จแล้ว สุชาตก็ได้ลงรักปิดทองเอาผ้าห่มของตนเป็นผ้าห่อคัมภีร์ ใช้ด้ายทำสายรัด และเก็บไว้ภายในหอไตรให้ทาส ๔ คนเป็นพนักงานเฝ้ารักษาเป็นประจำเสมอมา ครั้นต่อมากาลนานมา สองสามีภรรยาก็ได้ตายไป เสวยสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ในวิมานทองสูง ๕ โยชน์ แวดล้อมด้วยนางอัปสร ๑,๐๐๐ นาง เต็มด้วยอิฏฐารมณ์มากมายหลายประการฯ เมื่อเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต คิดเป็นเวลาในมนุษย์ ๗๕ โกฏิ ๖๐ แสนปี แล้วจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ขึ้นไปเสวยทิพย์สมบัติอยู่ในฉกามาพจรสวรรค์ถึง ๓ ครั้ง ครั้นในภัทรกัปรนี้ สองสามีภรรยาก็ได้มาเกิดเป็นพระเจ้า จักรพรรดิราช สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว ดวงแก้วมณีโชติ จักรแก้ว นางแก้ว นางแก้วก็คือนางนันทา ผู้เคยเป็นภรรยาในอดีตนั้นเองฯ นอกจากนี้อานิสงส์ที่ได้ปิดทองพระคัมภีร์นั้น ย่อมตกแต่งให้มีผิวพรรณดั่งทองคำธรรมชาติฯ ผลที่ได้เอาผ้าห่มห่อคัมภีร์ได้บัลดารให้คลังอันเต็มไปด้วยผ้า ๘๔,๐๐๐ คลัง ผ้าแต่ละผืนล้วนแต่มีราคาแพงๆทั้งนั้นฯ อานิสงส์ที่ได้ใช้ด้ายรัดคัมภีร์ได้ทำให้สมบัติทั้งปวงถาวรมั่นคง ไม่มีการเสื่อมสูญหายด้วยอันตรายใดๆทั้งสิ้น อานิสงส์ที่ได้ทำตู้และหีบใส่พระไตรปิฎกนั้นได้ตกแต่งให้เป็นบรมจักพรรดิ สมบูรณ์ด้วยปรางค์ปราสาทแก้วถึง ๘๔,๐๐๐ ปรางค์ ล้วนทำด้วยแก้วประกาฬ แก้วลาย แก้วผลึก และแก้วอินทนิน นับเงินและทองเข้าด้วย จึงเป็นรัตนทั้ง ๗ ประการฉะนี้ฯ ด้วยอานิสงส์ที่มณฑปหอไตร ได้บันดาลให้อาชญาแผ่ไปทั่วในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวารฯ ด้วยอานิสงส์ที่ให้ทาสทั้ง ๔ อยู่ประจำรักษาหอไตรนั้นก็ตกแต่งให้มีบริวารแวดล้อมอยู่เป็นนิตยกาล ครั้นต่อมากาลนานมา พระเจ้าจักรพรรดิราชา ก็ได้ซึ่งความตายตามสภาพของสังขาร แล้วไปเกิดเป็นพระอินทรอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึง จากนั้นก็เกิดเป็นมนุษย์ พบพระศาสนาของพระสมณโคดมบรมครู และได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาผู้เลิศด้วยปัญญาแลฯ การสร้างพระไตรปิฎกนั้นมีผลานิสงส์สุดที่นับได้ดังที่พระชินศรีตรัสว่า "ผลนั้นไม่มีที่สิ้นสุด จะนับประมาณมิได้ดังนี้ฯ"
ที่อยู่ :
ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง
จำนวนเข้าดู :
672
ปรับปรุงล่าสุด :
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 22:58:50
ข้อมูลเมื่อ :
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 09:55:42