วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
พระธาตุเจดีย์เขาน้อย
ประวัติ

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ) พระธาตุเจดีเขาน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านหาดสูง หมู่ที่ 3 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ประวัติเจดีย์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้นจากบุคคลในพื้นที่ ทราบว่าได้ก่อสร้างมาเป็นเวลานานตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า และเมื่อพิจารณาจากลักษณะของเจดีย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเจดีย์น่าจะมีอายุสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ประมาณ 200 - 150 ปีมาแล้ว) เชื่อกันว่าเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ได้มีชีปะขาวช้อย ไม่ทราบนามสกุล ซึ่งเป็นผู้มีวิชาอาคมทางไสยศาสตร์ มีความรู้ด้านสมุนไพรและมีผู้คนศรัทธากันมาก ได้ปลูกที่พักอยู่บนเขาน้อย จนใกล้จะสิ้นอายุขัย ท่านจึงได้ก่อสร้างเจดีย์ขึ้นบนเขาน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐผสมกับน้ำยาที่สกัดจากพืชและเปลือกหอยเป็นส่วนผสมที่ช่วยมายึดอิฐดินเปาซึ่งเป็นก้อนขนาดใหญ่พอสมควร ฐานเจดีย์กว้าง 5 เมตร สูง 8 เมตร ทรงเจดีย์ลักษณะคล้ายเจดีพระธาตุมุจลินทร์ อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร บนทรงข้าวบินจะมีลูกถ้วยเคลือบลักษณะเป็นถ้วยของประเทศจีน มีการเขียนรูปจักรราศีไว้ด้วย รอบๆ ถ้วยจะเป็นลายปูนปั้นเป็นรูปดอกบัว ประดับไว้ที่คอปลียอดของเจดีย์ทั้งสี่ทิศ แต่ในปัจจุบันเจดีย์ดังกล่าวได้หักพังลงมากองอยู่ที่พื้นดิน หลังจากท่านได้สร้างเจดีย์ไว้แล้วท่านก็ถึงแก่กรรมหลังจากนั้นก็ถูกปล่อยให้รกร้าง จวบจนปี พ.ศ. 2542 จึงได้บูรณะขึ้นมาใหม่โดยการนำของ ด.ต.จักรพงศ์ หนูคง หรือจ่าจ้วน นายเสรี คงสนิท ผู้ใหญ่บ้าน นายวีระพล กองชาวนา นางเชื่อม กองชาวนา นายเรวัติ หรือเจี๊ยบ หล่อเพชร นายเชี่ยวชาญ หรือเหลียว พัฒน์ทอง นายประสาน หรือเสริฐ สังคลังสวน นายบุญชู เพชรวงศ์ นายสนั่น ปิ่นสุวรรณ หรือแป๊ะ และพี่น้องประชาชนในหมู่ที่ 3 ตำบลละแม บ้านหาดสูงทุกท่านได้ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนา ก่อศาลาที่พัก สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่อีก 1 องค์ ฐานกว้าง 5 เมตร สูง 19 เมตร บรรจุพระธาตุของพระกัสสะปะ พระอัญญา โกณฑัญญะ พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พระธาตุดังกล่าวได้รับมอบมาจากพระครูประสิทธิ์สุทธิมนต์ หรือท่านชม นิ้วเพชร วัดปากน้ำละแม ท่านพระครูสุวรรณอินทโชติ หรืออาจารย์ดำ วัดสุวรรณธาราราม (วัดบ้านดวด) นายรังสรรค์ ศรีพงษ์พันธ์กุล รวมทั้งหมด 9 องค์พระธาตุ โดยนำพระธาตุดังกล่าวเข้าขบวนแห่จากหน้าที่ว่าการอำเภอละแม ผ่านตลาดละแมมายังเขาน้อย และประกอบพิธีอัญเชิญพระธาตุขึ้นประดิษฐานบนส่วนปรียอดของเจดีย์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2543 มีการจัดงามสมโภชน์ 3 วัน 3 คืน หลังจากนั้นก็ได้ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นทางขึ้นจากตีนเขาสู่ที่ตั้งของพระธาตุ ได้ก่อสร้างพระพุทธรูปปางสุโขทัยขนาดใหญ่ไว้รอบๆ องค์พระธาตุจำนวน 3 องค์ และตลอดถึงการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ไว้ครบครัน ปัจจุบันมีพระภิกษุจากสวนโมขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ 1 รูป เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ชาวบ้านหาดสูงจึงร่วมกันจัดพิธีห่มผ้าพระธาตุขึ้นซึ่งเดิมได้กำหนดให้จัดขึ้นในวันจบปีจบเดือน แรม 14 ค่ำเดือนห้า ต่อมาได้กำหนดให้จัดขึ้นในวันวิสาขบูชาของทุกปี รอบๆ ที่ตั้งพระธาตุเจดีย์จะเป็นป่ามีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ มีต้นไม้ประจำถิ่นและไม้เบญจพรรณต่างๆ ที่สำคัญ คือ ต้น "ก่อ" หรือ "กอ" หรือ "ก่อหนาม" มีอยู่จำนวนมาก ทุกๆ ปีจะออกผลให้ชาวบ้านสามารถเก็บมาทานได้โดยใช้คั่วกับทราย ต้นก่อนับเป็นต้นไม้ที่หายากในปัจจุบัน ส่วนบนยอดเขาน้อยอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์จะมีที่ราบ มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ 1 ต้น ต้นไทรขนาดใหญ่ 1 ต้น ต้นมะปริง ต้นมะม่วงซึ่งมีขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าน่าจะปลูกในสมัยที่ชีปะขาวช้อย อยู่บนเขาแห่งนี้
 

ลักษณะเด่น

อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น) เจดีย์อยู่บนยอดเขาซึ่งมีลักษณะเป็นลานเรียบ ลักษณะเป็นเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่ออิฐถือปูน กว้างยาวประมาณด้านละประมาณ 4 เมตร ฐานชั้นล่างเป็นฐานเขียง ส่วนบนปรากฏชิ้นส่วนขององค์ระฆังเป็นรูปเหลี่ยม คอระฆังหรือบัวคอเสื้อประดับปูนปั้นเป็นบัวซ้อนกลีบ 3 ชั้น ถึดขึ้นไปเป็นปล้องไฉนโดยสันนิษฐานว่าน่าจะทำเป็นบัวถลารับกับปรียอด สำหรับส่วนยอดเจดีย์หักเนื่องจากการถูกลักลอบขุดหาสมบัติ เมื่อพิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของเจดีย์บนเขาน้อยและโดยการเปรียบเทียบกับเจดีย์องค์อื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง พบว่ามีลักษณะเป็นศิลปกรรมท้องถิ่น กำหนดอายุสมัยในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ประมาณ 200 - 150 ปี) โดยรอบองค์เจดีย์บนเขาน้อย มีสิ่งก่อสร้างที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของเจดีย์องค์ใหม่และพระพุทธรูปประทับนั่ง 3 องค์ สภาพปัจจุบัน เจดีย์มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก โดยส่วนฐานมีการเรียงก้อนอิฐที่กระจัดกระจายขึ้นใหม่ในภายหล้ง ทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมผิดไปจากความเป็นจริง ส่วนบนปรากฏชิ้นส่วนหลักฐานขององค์ระฆังและเครื่อง.... บางส่วน สำหรับสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุใต้องค์เจดีย์ รวมทั้งเกิดจากการเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติด้วย
 

ข้อมูลสถานที่

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ) พระธาตุเจดีเขาน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านหาดสูง หมู่ที่ 3 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ประวัติเจดีย์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้นจากบุคคลในพื้นที่ ทราบว่าได้ก่อสร้างมาเป็นเวลานานตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า และเมื่อพิจารณาจากลักษณะของเจดีย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเจดีย์น่าจะมีอายุสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ประมาณ 200 - 150 ปีมาแล้ว) เชื่อกันว่าเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ได้มีชีปะขาวช้อย ไม่ทราบนามสกุล ซึ่งเป็นผู้มีวิชาอาคมทางไสยศาสตร์ มีความรู้ด้านสมุนไพรและมีผู้คนศรัทธากันมาก ได้ปลูกที่พักอยู่บนเขาน้อย จนใกล้จะสิ้นอายุขัย ท่านจึงได้ก่อสร้างเจดีย์ขึ้นบนเขาน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐผสมกับน้ำยาที่สกัดจากพืชและเปลือกหอยเป็นส่วนผสมที่ช่วยมายึดอิฐดินเปาซึ่งเป็นก้อนขนาดใหญ่พอสมควร ฐานเจดีย์กว้าง 5 เมตร สูง 8 เมตร ทรงเจดีย์ลักษณะคล้ายเจดีพระธาตุมุจลินทร์ อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร บนทรงข้าวบินจะมีลูกถ้วยเคลือบลักษณะเป็นถ้วยของประเทศจีน มีการเขียนรูปจักรราศีไว้ด้วย รอบๆ ถ้วยจะเป็นลายปูนปั้นเป็นรูปดอกบัว ประดับไว้ที่คอปลียอดของเจดีย์ทั้งสี่ทิศ แต่ในปัจจุบันเจดีย์ดังกล่าวได้หักพังลงมากองอยู่ที่พื้นดิน หลังจากท่านได้สร้างเจดีย์ไว้แล้วท่านก็ถึงแก่กรรมหลังจากนั้นก็ถูกปล่อยให้รกร้าง จวบจนปี พ.ศ. 2542 จึงได้บูรณะขึ้นมาใหม่โดยการนำของ ด.ต.จักรพงศ์ หนูคง หรือจ่าจ้วน นายเสรี คงสนิท ผู้ใหญ่บ้าน นายวีระพล กองชาวนา นางเชื่อม กองชาวนา นายเรวัติ หรือเจี๊ยบ หล่อเพชร นายเชี่ยวชาญ หรือเหลียว พัฒน์ทอง นายประสาน หรือเสริฐ สังคลังสวน นายบุญชู เพชรวงศ์ นายสนั่น ปิ่นสุวรรณ หรือแป๊ะ และพี่น้องประชาชนในหมู่ที่ 3 ตำบลละแม บ้านหาดสูงทุกท่านได้ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนา ก่อศาลาที่พัก สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่อีก 1 องค์ ฐานกว้าง 5 เมตร สูง 19 เมตร บรรจุพระธาตุของพระกัสสะปะ พระอัญญา โกณฑัญญะ พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พระธาตุดังกล่าวได้รับมอบมาจากพระครูประสิทธิ์สุทธิมนต์ หรือท่านชม นิ้วเพชร วัดปากน้ำละแม ท่านพระครูสุวรรณอินทโชติ หรืออาจารย์ดำ วัดสุวรรณธาราราม (วัดบ้านดวด) นายรังสรรค์ ศรีพงษ์พันธ์กุล รวมทั้งหมด 9 องค์พระธาตุ โดยนำพระธาตุดังกล่าวเข้าขบวนแห่จากหน้าที่ว่าการอำเภอละแม ผ่านตลาดละแมมายังเขาน้อย และประกอบพิธีอัญเชิญพระธาตุขึ้นประดิษฐานบนส่วนปรียอดของเจดีย์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2543 มีการจัดงามสมโภชน์ 3 วัน 3 คืน หลังจากนั้นก็ได้ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นทางขึ้นจากตีนเขาสู่ที่ตั้งของพระธาตุ ได้ก่อสร้างพระพุทธรูปปางสุโขทัยขนาดใหญ่ไว้รอบๆ องค์พระธาตุจำนวน 3 องค์ และตลอดถึงการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ไว้ครบครัน ปัจจุบันมีพระภิกษุจากสวนโมขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ 1 รูป เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ชาวบ้านหาดสูงจึงร่วมกันจัดพิธีห่มผ้าพระธาตุขึ้นซึ่งเดิมได้กำหนดให้จัดขึ้นในวันจบปีจบเดือน แรม 14 ค่ำเดือนห้า ต่อมาได้กำหนดให้จัดขึ้นในวันวิสาขบูชาของทุกปี รอบๆ ที่ตั้งพระธาตุเจดีย์จะเป็นป่ามีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ มีต้นไม้ประจำถิ่นและไม้เบญจพรรณต่างๆ ที่สำคัญ คือ ต้น "ก่อ" หรือ "กอ" หรือ "ก่อหนาม" มีอยู่จำนวนมาก ทุกๆ ปีจะออกผลให้ชาวบ้านสามารถเก็บมาทานได้โดยใช้คั่วกับทราย ต้นก่อนับเป็นต้นไม้ที่หายากในปัจจุบัน ส่วนบนยอดเขาน้อยอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์จะมีที่ราบ มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ 1 ต้น ต้นไทรขนาดใหญ่ 1 ต้น ต้นมะปริง ต้นมะม่วงซึ่งมีขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าน่าจะปลูกในสมัยที่ชีปะขาวช้อย อยู่บนเขาแห่งนี้ อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น) เจดีย์อยู่บนยอดเขาซึ่งมีลักษณะเป็นลานเรียบ ลักษณะเป็นเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่ออิฐถือปูน กว้างยาวประมาณด้านละประมาณ 4 เมตร ฐานชั้นล่างเป็นฐานเขียง ส่วนบนปรากฏชิ้นส่วนขององค์ระฆังเป็นรูปเหลี่ยม คอระฆังหรือบัวคอเสื้อประดับปูนปั้นเป็นบัวซ้อนกลีบ 3 ชั้น ถึดขึ้นไปเป็นปล้องไฉนโดยสันนิษฐานว่าน่าจะทำเป็นบัวถลารับกับปรียอด สำหรับส่วนยอดเจดีย์หักเนื่องจากการถูกลักลอบขุดหาสมบัติ เมื่อพิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของเจดีย์บนเขาน้อยและโดยการเปรียบเทียบกับเจดีย์องค์อื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง พบว่ามีลักษณะเป็นศิลปกรรมท้องถิ่น กำหนดอายุสมัยในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ประมาณ 200 - 150 ปี) โดยรอบองค์เจดีย์บนเขาน้อย มีสิ่งก่อสร้างที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของเจดีย์องค์ใหม่และพระพุทธรูปประทับนั่ง 3 องค์ สภาพปัจจุบัน เจดีย์มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก โดยส่วนฐานมีการเรียงก้อนอิฐที่กระจัดกระจายขึ้นใหม่ในภายหล้ง ทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมผิดไปจากความเป็นจริง ส่วนบนปรากฏชิ้นส่วนหลักฐานขององค์ระฆังและเครื่อง.... บางส่วน สำหรับสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุใต้องค์เจดีย์ รวมทั้งเกิดจากการเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติด้วย

ที่อยู่ :
ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร
จำนวนเข้าดู :
514
ปรับปรุงล่าสุด :
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 04:34:20
ข้อมูลเมื่อ :
5 มิถุนายน พ.ศ. 2564 19:13:27