วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
จิตรกรรมฝาผนังศาลาการเปรียญวัดท่าคอย
จิตรกรรมฝาผนังศาลาการเปรียญวัดท่าคอย
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง บนศาลาการเปรียญ
ที่ตั้งจิตรกรรม            เพดานห้องที่   ๒,  ๓,  ๔,  และ   ๕
     ลักษณะอาคาร
            ศาลาการเปรียญเป็นเรือนไม้ทรงไทยขนาดใหญ่       อยู่ด้านหลังพระอุโบสถหลังใหม่ตั้งหันไปยังทิศตะวันออก     เป็นศาลาที่กำลังก่อสร้างขึ้นใหม่แทนหลังเก่าที่มีสภาพเก่าและชำรุดมาก 
              ศาลานี้ตั้งบนฐานปูนซีเมนต์    สูง  ๑๕  เซนติเมตร     ยกพื้นสูงประมาณ  ๒  เมตรมีขนาดยาว  ๘  ห้อง รองรับด้วยเสากลมขนาดใหญ่จำนวน  ๓๒  ต้น   ฝาด้านข้างเป็นฝาลูกพัก    เจาะหน้าต่างห้องละ  ๒  ช่อง   รวมด้านละ  ๑๖  ช่อง
             สกัดด้านหน้ามีขนาดกว้าง  ๔  ห้อง  ๒  ห้องกลางเจาะประตู  ๒  ประตู  ๒  ห้อง ด้านข้างเจาะหน้าต่างห้องละ  ๒  บาน   ด้านนี้มีมุขก่ออิฐถือปูนยื่นออกมา   กั้นด้วยพนักลูกกรง  กระเบื้องเคลือบสีน้ำตาล    มีบันไดขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูน  ๑  ทาง
             สกัดด้านหลังเจาะประตู  ๑  ช่อง    และหน้าต่าง   ๒    ห้อง   อีกห้องหนึ่งริมด้านซ้ายกั้นฝาทึบ
             หลังคาทรงจั่วไม่มีขั้นลด    ผืนหลังคาปีกนกแผ่ลาดลงทั้ง  ๔  ด้าน  มุงด้วยกระเบื้องดินเผา  มีช่อฟ้าใบระกา    หางหงส์    หน้าบันไม่มีลวดลายใด
             ลักษณะภายมีขนาด  ๖  ห้อง    มีเสากลมไม้มะค่าทาแชล็กมันรองรับขื่อจำนวน  ๗  คู่และเสากลมอิงฝาจำนวน   ๒๔   ต้น เพดานห้องที่  ๒,  ๓,  ๔,  และ  ๕  มีจิตรกรรมฝาผนังและมีธรรมาสน์จำหลักลงรักปิดทองตั้งอยู่ตรงกลางห้องที่  ๖  มีจารึกที่หน้ากระดานใต้กระจังปฏิภาณว่า  “ นายสุข   นางนวล   ด.ช.ประชุมเหมือนหอม       สร้างอุทิศให้พ่อแม่พี่น้องและผู้มีอุปการคุณทุกท่าน   พ.ศ.๒๕๐๕ ’’
           พื้นศาลาปูไม้กระดาน   ด้านเหนือยกพื้นสูงเป็นอาสนสงฆ์ยาวตลอดด้าน  คอสองและฝ้าปีกนกตีฝ้าสีขาวเดินเส้นสีน้ำตาลไหม้
              ลักษณะจิตรกรรม     จิตรกรรมที่เพดานศาลาการเปรียญ    เป็นจิตรกรรมที่เขียนบนพื้นไม้    ถือรองพื้นด้วยดินสอพองผสมกาวไม่หนาหรือบางจนเกินไป  ลักษณะของเนื้อที่ภาพจัดแบ่งเป็นห้อง  ไม่เขียนเป็นเรื่องราว  แต่จะเขียนลักษณะเป็นเรื่องของภาพประดับ  ซึ่งแฝงด้วยคติธรรมบางอย่างค่อนข้างลึกซึ้งนัก
               การจัดองค์ประกอบเป็นการจัดที่จะร่างภาพไม่มีความซับซ้อน   หากคำนึงถึงช่องไฟและจังหวะเล็กและใหญ่ของตัวภาพและลายประกอบให้ได้สัดส่วนกับช่องไฟ     มีการเน้นที่ส่วนสำคัญไว้ในกึ่งกลางภาพ    โดยเขียนลวดลายหรือตัวลายประกอบบ้าง    ตัวภาพสัตว์บางภาพ    จัดวางภาพได้น้ำหนักทั้งด้านซ้ายและขวา    ตัวภาพและตัวลายเท่ากันทั้งสองข้าง    น้ำหนักของภาพจึงลงตัวโดยไม่มีด้านใดด้านหนึ่งหนักเกินไป   ภาพทุกห้องจะล้อมรอบด้วยกรอบซึ่งเขียนเป็นลายดอกไม้และลายชายผ้า        สีที่ใช้เป็นสีฝุ่นผสมกาว    มีสีแดง  ดำ  เขียว   เหลือง   ขาว    ไม่มีการปิดทองตัดเส้น   ลักษณะของการใช้สีใช้สีได้อย่างสดใสเด็ดขาด    สีสด ฯ เหล่านี้ถ้าเป็นการใช้ที่ขาดองค์ประกอบของภาพที่ดีแล้ว  ก็จะเป็นตัวทำลายความสวยงามของภาพลงไปได้   แต่ภาพจิตรกรรมแห่งนี้  ช่างเขียนช่างเขียนจะต้องมีความสามารถมาก   จึงใช้สีที่เขียนตัวภาพได้อย่างมีความงดงามและได้จังหวะของภาพด้วยจึงทำให้ภาพดูงามจับตาลักษณะการเขียน    จะลงสีพื้นเป็นสีที่ไม่ไล่น้ำหนัก    เป็นสีแบนฯ    ภาพจะแบ่งออกเป็น  ๒  กลุ่มกลุ่มแรกจะลงพื้นครามผสมดำ     มี ๒  ห้อง   และกลุ่มที่สองลงขาวเจือคราม   ภามที่เขียนส่วนใหญ่จะเป็นภาพนกและสัตว์ในวรรณคดี    เช่นหงส์    นกหัสดีลิงค์    นอกจากนั้นยังมีผีเสื้อและมีตัวภาพประกอบในจุดสำคัญด้วยแต่น้อยกว่าพวกรูปสัตว์   การเขียนจะใช้สีสด  ฯ เขียนพื้นแล้วใช้ลักษณะเติมแวว    โดยใช้สีที่เจือขาวทำให้อ่อนลงแต้มเป็นแวว   และใช้สีที่หนักกว่าหรือมีการเพิ่มค่าสีให้มีสีหนักว่าสีพื้นตัดเส้น จึงเกิดเป็นภาพที่มีโครงสีเดียวกันทั้งหมด    บางภาพก็ใช้สีที่มีโครงสีต่างกัน   มาเขียนในตัวสัตว์ตัวเดียวกัน  เช่นสีตัวนกสีครามและเติมแววสีครามอ่อน  ส่วนปีกเป็นสีแดงและเติมแววสีแดงอ่อน   และบางภาพจะตัดเส้นเลยโดยเอาสีของพื้นหลังเป็นพื้นของสีตัวสัตว์เลย   ( พื้นหลังเป็นสีขาวเจือคราม ) นอกจากสัตว์แล้ว  ยังเอายังนำเอาผลไม้ต่าง ฯ มาประดิษฐ์เป็นลวดลายได้อย่าง งดงามมาก เช่น  เอามังคุด    ชมพู่  น้อยหน่า  และดอกไม้อื่นฯ ซึ่งดูแล้วเป็นความคิดที่ดีมาก   และไม่ซ้ำกันเลย   ที่น่าชมอีกอย่างหนึ่ง   คือเอาดอกกล้วยไม้มาออกลายกรอบที่ล้อมรอบ    ซึ่งดูแล้วจะเหมือนค้างคาวมากแต่เมื่อดูอย่างเจาะจงแล้วจะเป็นดอกกล้วยไม้ เส้นที่ตัดทั้งเส้นรอบตัวและเส้นรายละเอียดของตัวสัตว์   เป็นเส้นที่ได้ขนาดและสัดส่วนมาก    มีทั้งเส้นเอกและเส้นโท    กลมกลืนไปตลอดทั้งตัวและสวยงามมาก
              ส่วนตัวภาพที่เป็นตัวยักษ์และตัวพระตัวนางนั้น    ก็เขียนได้ดีมากทั้งสัดส่วนของตัวและลีลาตัวภาพก็ไม่ได้ปิดทองตัดเส้น    แต่จะใช้สีเหลืองแทนทอง    เส้นที่ตัดก็เป็นเส้นสีแดง  และได้ขนาดของตัวภาพ     การตัดเส้นก็ได้จังหวะและอ่อนช้อยมาก     ส่วนการเขียนลายผ้าและเครื่องประดับก็เขียนอย่างประณีตมาก      สวยงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาพสัตว์และดอกไม้เลย
            เรื่อง       นกหัสดีลิงค์โฉบนาง       กระต่ายในดวงจันทร์     ราชรถพระจันทร์     นกยูงในดวงดาวกลางล้อมด้วยเทพอัปสรและรามสูรเมขลา
การลำดับภาพ         แพดานศาลาเก่านั้นมี   ๔   ห้อง       เมื่อนำมาปรับปรุงใหม่ได้ขยายเป็น    ๖    ห้อง      ห้องที่   ๑   และห้องที่    ๖   เป็นส่วนที่เสริมขึ้น     และเพดานเก่าได้นำมาปรุงไว้ในห้องที่    ๒ – ๔            การลำดับภาพลายเพดานตามลำดับตั้งแต่ห้องที่   ๒ – ๔     มีดังนี้
ห้องที่  ๒     มีดาวใหญ่   ๗    ดาวเล็ก   ๘    ดวง   ดาวใหญ่ตรงกลางมีภาพนกยูงรำแพนระหว่างนกยูงเป็นภาพรามสูรเมขลา       ส่วนอีก    ๔    ดอกรอบนอกของดวงกลางเป็นเทพและนางอัปสร       ดาวเล็กเขียนลาย      และระหว่างช่องไฟของดาวทุกดวงเขียนภาพนกต่าง  ฯ   ตรงมุมห้องภาพเขียนค้างคาว      กรอบรอบนอกเขียนลายช่อดอกไม้     สีพื้นหลังเป็นสีเทาหม่น
           ห้องที่  ๓     มีดาวใหญ่ตรงกลาง     ภายในดวงดาวเขียนภาพพระจันทร์ทรงราชรถ     และมีดาวน้อยใหญ่ล้อมอยู่อีก   ๑๔   ดวง     ระหว่างดวงดาวเป็นภาพนกต่าง  ฯ  ไก่ฟ้า   ผีเสื้อ      ลายล้อมรอบห้องภาพเป็นลายช่อดอกไม้สลับลายดอกพุดตานดอกโตเด่น     ตรงมุมลายกรอบเป็นภาพค้างคาวสีพื้นหลังภาพเป็นสีครามหม่น
            ห้องที่   ๔      ตรงกลางเป็นภาพกระต่ายอยู่ในดวงดาว      มีภาพนก  (  ลักษณะคล้ายไก่ ) และผีเสื้อสลับกันล้อมดวงดาวกลางอยู่     และ รอบนอกมีช่อดอกไม้สลับกับนกอีกชั้นหนึ่ง     ตรงมุมเป็นลายดาว     ระหว่างลายดาวคู่มุมเป็นภาพนกกระสาคาบปลากัน     อีกด้านหนึ่งเป็นนกกระสาคาบปูมุมห้องเป็นลายดอกพุดตานใบเทศ  เขียนในทรงสามเหลี่ยมมุมฉากและมีลายกรอบล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง     ลายกรอบเป็นลายเชิงผ้ารูปสามเหลี่ยม     ประกอบลายดอกพุดตานและดอกสี่กลีบ     พื้นห้องใช้สีขาว    ลดความจ้าด้วยการเจือฟ้าเพียงเล็กน้อย     ยังเห็นเป็นขาวอยู่แต่มีน้ำหนักไม่โดด
                        ห้องที่    ๕     ห้องนี้ไม่มีดวงดาว      แต่เขียนภาพนกอยู่ตรงกลางห้อง     นกหัสดีลิงค์จับนางพาบินไปล้อมรอบนกใหญ่ด้วยนกอื่น  ฯ   เป็นจังหวะตามองค์ประกอบที่งามลงตัวพอดี    มุมห้องทางตะวันออกเฉียงใต้เป็นภาพนกบินโฉบเด็กผมผมจุก  กรอบล้อมรอบห้องภาพเป็นลายเชิงผ้าคล้ายห้องที่  ๔  สีพื้นห้องเป็นสีขาวเช่นเดียวกัน
คุณค่า     จิตรกรรมสีฝุ่นเขียนบนไม้ฝ้าเพดานศาลาแห่งนี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งโดย
ลักษณะจิตรกรรมแล้วคุณค่าและความสำคัญสูงมาก    ความงามของจิตรกรรมนั้น
บริสุทธิ์สมบูรณ์แบบ  ยากที่จะหาจิตรกรรมบนเพดานใด ฯ  มาเปรียบเทียบได้      การวางจังหวะองค์ประกอบ     ความลงตัวของสัดส่วน     ความงามของตัวภาพ    ความประณีตของลวดลาย     และความสัมพันธ์ของสี    ทุกสิ่งที่สร้างสรรค์ไว้มีคุณค่าเป็นสุนทรียศาสตร์
การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์จิตรกรรม    เป็นการพิจารณางานที่มีความวิจิตรและละเอียดอ่อนอยู่ทุกส่วนของจิตรกรรม      สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการศึกษาวิจัยวิเคราะห์และนำคุณค่านี้เผยแพร่ให้คนทั้งหลายได้มีโอกาสรับประโยชน์นี้ให้กว้างขวางจริงจังต่อไป
สภาพ      ยังอยู่ในสภาพค่อนข้างดี   ชั้นสีแข็งแรง  มีรอยชำรุดและกระทบกระเทือนหลายแห่ง      เนื่องจากการรื้อย้าย จากศาลาการเปรียญหลังเก่ามาปรับปรุงขึ้นใหม่       และประกอบไว้ ณ    เพดานศาลาใหม่     อย่างไรก็ดีความชำรุดนั้น  ไม่ทำให้ภาพเสียลักษณะมากนัก    ภาพยังงามวิเศษ  ผิวจิตรกรรมมีลักษณะหมองคล้ำตามลักษณะความเก่าแก่     ซึ่งหากได้ทำการอนุรักษ์ทำความ สะอาดแล้วจะช่วยให้แจ่มใสดีขึ้น
พื้นที่จิตรกรรม   เพดานขนาดห้องเท่ากัน   จำนวน  ๔  ห้อง  ๓๔ . ๕๖   ตารางเมตร 
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นสมบัติของโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม  ๒๕๒๖
 
 
ที่อยู่ :
ต.ท่าคอย อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
จำนวนเข้าดู :
2216
ปรับปรุงล่าสุด :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
ข้อมูลเมื่อ :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24