โบราณวัตถุ
ประวัติ
วัดบรรพตาวาส {เขากระจิว}
ตั้งอยู่ เลขที่ 93 หมู่ที่ 6
ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอท่ายางประมาณ 2 กิโลเมตร แยกจากถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นวัดใหญ่ของอำเภอท่ายาง และ ของจังหวัดเพชรบุรี มีความเจริญรุ่งเรืองและได้รับความศรัทธาเลื่อมใสจากประชาชนในท้องถิ่นและบุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีเสนาสนะและถาวรวัตถุมากมาย ทั้งกุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถซึ่งใหญ่โตสวยงามมาก โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาบำเพ็ญกุศล และอื่น ๆ มีภิกษุสามเณร จำพรรษาในกาลพรรษาปีหนึ่ง ๆ ประมาณ 50-70 รูป
วัดบรรพตาวาส (เขากระจิว)
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2403 โดยพระอธิการกฤษ์ ทสฺสโน ได้เดินมาธุดงค์มาจากต่างจังหวัด และมาพักอยู่ที่หมู่บ้านหัวตะเฆ้ พักอยู่กับผู้ใหญ่วัต นาคน้อย หมู่บ้านหัวตะเฆ้ ได้ร่วมกับผู้ใหญ่วัต นาคน้อย และชาวบ้านหาที่สร้างวัด เพราะในสมัยนั้นพื้นที่นี้แถบยังไม่มีวัด ที่จะได้บำเพ็ญกุศล ในสมัยนั้นพื้นที่บริเวณตั้งวัดเต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ มีไข้ป่าชุกชุม จนได้ที่เหมาะสม คือ บริเวณเชิงเขากระจิว ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเขากระจิว ช่วยกันหักล้างถางพงไม้ ได้ก่อสร้างที่พักสงฆ์ขึ้น เพื่อสร้างขึ้นเป็นวัด โดย เรียกว่าวัดเขากระจิว โดยครั้งแรกได้สร้างกุฏิชั่วคราว หลังคามุงด้วยหญ้าคา ขึ้น 1 หลัง และชาวบ้าน ผู้ใหญ่วัต นาคน้อย และชาวบ้านได้อาราธนานิมนต์ พระอธิการกริช ทสฺสโน เป็น เจ้าอาวาสวัดเขากระจิว
พ.ศ. 2404 พระอธิการกริช ทสฺสโน ได้สร้างกุฏีขึ้น 4 หลัง ร่วมกับชาวบ้านใกล้เคียง เนื่องจากมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสนำบุตรหลานมาบรรรพชาอุปสมบท เป็น พระภิกษุ สามเณร 5-10 รูป ในสมัยนั้นต้องไปทำพิธีอุปสมบทที่วัดมหาสมณารามวรวิหาร (เขาวัง) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และนำมาจำพรรษาที่วัดนี้
พ.ศ. 2440 ได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์และได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้น 1 หลัง คือ อุโบสถหลังเก่าที่เห็นอยู่ในขณะนี้
พ.ศ. 2445 ได้ขออนุญาตตั้งขื่อวัดว่า “วัดบรรพตาวาส” ซึ่งได้เรียกชื่อกันมาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า วัดเขากระจิว
พ.ศ. 2449 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และผูกพัทธสีมาอุโบสถ จนสามารถใช้เป็นสถานที่อุปสมบทได้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2473 พระอธิการกริช ทสฺสโน ได้ออกเดินธุดงค์ไปต่างจังหวัดและมรณภาพที่ต่างจังหวัด (คือหายสาบสูญไปไม่ปรากฏว่าอยู่ที่ใด เข้าใจว่าคงมรณภาพแล้วตามความเห็นของเขียนประวัติ)
พ.ศ. 2473 พระอธิการแผน ปภากโร เป็นพระเถระผู้ใหญ่ในขณะนั้น ได้ขึ้นครองวัด เป็น เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ต่อจากหลวงกริช ทสฺสโน สืบต่อมา
พ.ศ. 2482 พระอธิการแผน ปภากโร เจ้าอาวาสได้มรณภาพลง ด้วยโรคฝีในท้อง (เรียกกันในสมัยนั้น)
พระอธิการแผน ปภากโร ขึ้นครองวัดได้ 18 พรรษา (เป็นเจ้าอาวาส 8 พรรษา)
พ.ศ. 2483 พระครูโสภิตธรรมาภรณ์ (ทอง สุมโน) ได้ขึ้นครองวัดสืบต่อมา ผลงานของท่านมีมากมาย จนกระทั้ง
พ.ศ. 2528 ได้มรณะภาพลง เมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 (ด้วยโรคอัมพาธ)
พ.ศ. 2528 พระครูกัลยาณวุฒิกร รักษาการแทนเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2535 สร้างกุฎีทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง
พ.ศ. 2536 ซ่อมพระเจดีย์บนยอดเขาใหม่
สร้างบันไดขึ้นสู้พระเจดีย์ประมาณ 300 ขั้น
พ.ศ. 2537 สร้างซุ้มประตูทางเข้าวัด ๑ ซุ้ม
พ.ศ. 2538 สร้างกุฎีทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง
พ.ศ. 2540 บูรณะภายในถ้ำสว่างถ้ำมืด เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปประมาณ 30 องค์
สร้างป้ายวัดคอนกรีตเสริมเหล็กปั้นลายไทย
สร้างห้องน้ำ ยาว 12 เมตร กว้าง 4 เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก
พ.ศ. 2541
เมื่อ พระครูกัลยาณวุฒิกร ได้ขึ้น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบรรพตาวาส ได้พัฒนาวัดเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ผลงานของท่านมีดังนี้
พ.ศ. 2532 ได้งานฌาปนกิจอดีตเจ้าอาวาส (พระครูโสภิตธรรมาภรณ์)
พ.ศ. 2534 ได้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ วัตถุโบราณ (ชื่อพิพิธภัณฑ์กัลยาณวุฒิกร) 4,000,000 บ. พ.ศ. 2536 ได้บูรณ์ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ และก่อสร้างบันไดขึ้นสู่เจดีย์ ประมาณ 400 ขั้น ค่าใช้จ่าย 1,500,000 บาท
พ.ศ. 2537 ได้ก่อสร้างประตูซุ้ม ทางเข้าวัด ค่าใช้จ่าย ประมาณ 800,000 บาท
ภาพถ่ายประตูซุ้ม
พ.ศ. 2537 ได้ก่อสร้างกุฎีสองชั้น คอนกรีตเสริมเหล็กขึ้น 1 หลัง ค่าใช้จ่าย 1,500,000 บ.
พ.ศ. 2537 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ ศาลาบำเพ็ญกุศล ค่าใช้จ่าย ประมาณ 500,000 บาท
พ.ศ 2538 ได้ก่อสร้างกุฎีสองชั้น คอนกรีตเสริมขึ้น 1 หลัง ค่าใช้จ่าย 2,400,000 บาท
พ.ศ. 2539 บูรณะปฏิสังขรณ์ติดไฟฟ้าภายในถ้ำ ทั้งถ้ำสว่าง – และถ้ำมืด ค่าใช่จ่าย 50,000 บ.
ดังในภาพพระนอน ถ้ำสว่างÊ
ภาพถ่ายพระนอน ถ้ำสว่างพ.ศ. 2539 ได้ก่อสร้างกุฏีเรือนไม้ยกพื้นขึ้น 1 หลัง ค่าใช้จ่าย ประมาณ 350,000 บาท พ.ศ 2539 ก่อสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติปึกเตียน ค่าใช้จ่าย ประมาณ 5,000,000 บาท
พ.ศ. 2540 ได้ก่อสร้างห้องน้ำยาว 12 ม. กว้าง 4 ม. ค่าใช้จ่าย ประมาณ 170,000 บาท
หมายเหตุ (พ.ศ. 2403 การก่อสร้างวัด) ขอได้พิจารณาให้รอบครอบ ก่อนที่พิมพ์ประวัติของวัดฯ
หัวข้อควรพิจารณา
กิร ดังที่ยินมาเล่ากันว่า หลวงพ่อกฤษ์ ทสฺสโน
เป็นนาคหลวงรุ่นแรกของวัดราชบพิธ กรุงเทพฯ
ประวัติ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2412 (สร้างก่อนหลวงพ่อกฤษ์เกิดเสียอีก)
พระอธิการกฤษ์ ทสฺสโน เกิด เมื่อ พ.ศ. 2415
บรรพชาอุปสมบท ตามปกติ ต้องมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์
บรรพชาอุปสมบท ราว พ.ศ. 2435 ถ้าบวชได้ 5 พรรษา ตรงกับ พ.ศ. 2440
พระอุโบสถหลังเล็ก ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ 31 พฤษภาคม 2449
หลวงพ่อกฤษ์ หนีออกจากวัด เมื่อ มิถุนายน พ.ศ. 2473 อายุ 58 ปี เดินออกประตูทิศใต้วัด
ประวัติของวัดบรรพตาวาส (เขากระจิว) ที่ทำกันมานั้น ใช้ พ.ศ. 2403 เป็นการก่อสร้างวัด ถึงปัจจุบัน ประมาณ 140 ปี ?
ภายในถ้ำมืด
เว้นชั่ว ประกอบดี ทำจิตให้ผ่องแผ้ว
สั่งสอนพระภิกษุสามเณร ตลอดเวลาในเพศบรรพชิตของท่าน
ภายในถ้ำมืด
ทางขึ้นถ้ำมืด และถ้ำสว่าง
ภายในถ้ำสว่าง
ภายในถ้ำสว่าง เขากระจิว
วัดบรรพตาวาส {เขากระจิว}
ตั้งอยู่ เลขที่ 93 หมู่ที่ 6
ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอท่ายางประมาณ 2 กิโลเมตร แยกจากถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นวัดใหญ่ของอำเภอท่ายาง และ ของจังหวัดเพชรบุรี มีความเจริญรุ่งเรืองและได้รับความศรัทธาเลื่อมใสจากประชาชนในท้องถิ่นและบุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีเสนาสนะและถาวรวัตถุมากมาย ทั้งกุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถซึ่งใหญ่โตสวยงามมาก โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาบำเพ็ญกุศล และอื่น ๆ มีภิกษุสามเณร จำพรรษาในกาลพรรษาปีหนึ่ง ๆ ประมาณ 50-70 รูป
ประวัติความเป็นมา
ของวัดบรรพตาวาส (เขากระจิว)
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2403 โดยพระอธิการกฤษ์ ทสฺสโน ได้เดินมาธุดงค์มาจากต่างจังหวัด และมาพักอยู่ที่หมู่บ้านหัวตะเฆ้ พักอยู่กับผู้ใหญ่วัต นาคน้อย หมู่บ้านหัวตะเฆ้ ได้ร่วมกับผู้ใหญ่วัต นาคน้อย และชาวบ้านหาที่สร้างวัด เพราะในสมัยนั้นพื้นที่นี้แถบยังไม่มีวัด ที่จะได้บำเพ็ญกุศล ในสมัยนั้นพื้นที่บริเวณตั้งวัดเต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ มีไข้ป่าชุกชุม จนได้ที่เหมาะสม คือ บริเวณเชิงเขากระจิว ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเขากระจิว ช่วยกันหักล้างถางพงไม้ ได้ก่อสร้างที่พักสงฆ์ขึ้น เพื่อสร้างขึ้นเป็นวัด โดย เรียกว่าวัดเขากระจิว โดยครั้งแรกได้สร้างกุฏิชั่วคราว หลังคามุงด้วยหญ้าคา ขึ้น 1 หลัง และชาวบ้าน ผู้ใหญ่วัต นาคน้อย และชาวบ้านได้อาราธนานิมนต์ พระอธิการกริช ทสฺสโน เป็น เจ้าอาวาสวัดเขากระจิว
พ.ศ. 2404 พระอธิการกริช ทสฺสโน ได้สร้างกุฏีขึ้น 4 หลัง ร่วมกับชาวบ้านใกล้เคียง เนื่องจากมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสนำบุตรหลานมาบรรรพชาอุปสมบท เป็น พระภิกษุ สามเณร 5-10 รูป ในสมัยนั้นต้องไปทำพิธีอุปสมบทที่วัดมหาสมณารามวรวิหาร (เขาวัง) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และนำมาจำพรรษาที่วัดนี้
พ.ศ. 2440 ได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์และได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้น 1 หลัง คือ อุโบสถหลังเก่าที่เห็นอยู่ในขณะนี้
พ.ศ. 2445 ได้ขออนุญาตตั้งขื่อวัดว่า “วัดบรรพตาวาส” ซึ่งได้เรียกชื่อกันมาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า วัดเขากระจิว
พ.ศ. 2449 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และผูกพัทธสีมาอุโบสถ จนสามารถใช้เป็นสถานที่อุปสมบทได้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2473 พระอธิการกริช ทสฺสโน ได้ออกเดินธุดงค์ไปต่างจังหวัดและมรณภาพที่ต่างจังหวัด (คือหายสาบสูญไปไม่ปรากฏว่าอยู่ที่ใด เข้าใจว่าคงมรณภาพแล้วตามความเห็นของเขียนประวัติ)
พ.ศ. 2473 พระอธิการแผน ปภากโร เป็นพระเถระผู้ใหญ่ในขณะนั้น ได้ขึ้นครองวัด เป็น เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ต่อจากหลวงกริช ทสฺสโน สืบต่อมา
พ.ศ. 2482 พระอธิการแผน ปภากโร เจ้าอาวาสได้มรณภาพลง ด้วยโรคฝีในท้อง (เรียกกันในสมัยนั้น)
พระอธิการแผน ปภากโร ขึ้นครองวัดได้ 18 พรรษา (เป็นเจ้าอาวาส 8 พรรษา)
พ.ศ. 2483 พระครูโสภิตธรรมาภรณ์ (ทอง สุมโน) ได้ขึ้นครองวัดสืบต่อมา ผลงานของท่านมีมากมาย จนกระทั้ง
พ.ศ. 2528 ได้มรณะภาพลง เมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 (ด้วยโรคอัมพาธ)
พ.ศ. 2528 พระครูกัลยาณวุฒิกร รักษาการแทนเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2529 พระครูกัลยาณวุฒิกร ได้ขึ้นครองวัดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2534 สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ๑ หลังพ.ศ. 2535 สร้างกุฎีทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง
พ.ศ. 2536 ซ่อมพระเจดีย์บนยอดเขาใหม่
สร้างบันไดขึ้นสู้พระเจดีย์ประมาณ 300 ขั้น
พ.ศ. 2537 สร้างซุ้มประตูทางเข้าวัด ๑ ซุ้ม
พ.ศ. 2538 สร้างกุฎีทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง
พ.ศ. 2540 บูรณะภายในถ้ำสว่างถ้ำมืด เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปประมาณ 30 องค์
สร้างป้ายวัดคอนกรีตเสริมเหล็กปั้นลายไทย
สร้างห้องน้ำ ยาว 12 เมตร กว้าง 4 เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก
พ.ศ. 2541
หมายเหตุ
คัดลอกจากหนังสือฉลองสมณศักดิ์ “พระครูกัลยาณวุฒิกร “ เจ้าอาวาสชั้นเอก22 มีนาคม 2539
ผลงานการพัฒนาวัดเมื่อ พระครูกัลยาณวุฒิกร ได้ขึ้น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบรรพตาวาส ได้พัฒนาวัดเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ผลงานของท่านมีดังนี้
พ.ศ. 2532 ได้งานฌาปนกิจอดีตเจ้าอาวาส (พระครูโสภิตธรรมาภรณ์)
พ.ศ. 2534 ได้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ วัตถุโบราณ (ชื่อพิพิธภัณฑ์กัลยาณวุฒิกร) 4,000,000 บ. พ.ศ. 2536 ได้บูรณ์ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ และก่อสร้างบันไดขึ้นสู่เจดีย์ ประมาณ 400 ขั้น ค่าใช้จ่าย 1,500,000 บาท
พ.ศ. 2537 ได้ก่อสร้างประตูซุ้ม ทางเข้าวัด ค่าใช้จ่าย ประมาณ 800,000 บาท
ภาพถ่ายประตูซุ้ม
พ.ศ. 2537 ได้ก่อสร้างกุฎีสองชั้น คอนกรีตเสริมเหล็กขึ้น 1 หลัง ค่าใช้จ่าย 1,500,000 บ.
พ.ศ. 2537 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ ศาลาบำเพ็ญกุศล ค่าใช้จ่าย ประมาณ 500,000 บาท
พ.ศ 2538 ได้ก่อสร้างกุฎีสองชั้น คอนกรีตเสริมขึ้น 1 หลัง ค่าใช้จ่าย 2,400,000 บาท
พ.ศ. 2539 บูรณะปฏิสังขรณ์ติดไฟฟ้าภายในถ้ำ ทั้งถ้ำสว่าง – และถ้ำมืด ค่าใช่จ่าย 50,000 บ.
ดังในภาพพระนอน ถ้ำสว่างÊ
พ.ศ. 2540 ได้ก่อสร้างห้องน้ำยาว 12 ม. กว้าง 4 ม. ค่าใช้จ่าย ประมาณ 170,000 บาท
หมายเหตุ (พ.ศ. 2403 การก่อสร้างวัด) ขอได้พิจารณาให้รอบครอบ ก่อนที่พิมพ์ประวัติของวัดฯ
หัวข้อควรพิจารณา
กิร ดังที่ยินมาเล่ากันว่า หลวงพ่อกฤษ์ ทสฺสโน
เป็นนาคหลวงรุ่นแรกของวัดราชบพิธ กรุงเทพฯ
ประวัติ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2412 (สร้างก่อนหลวงพ่อกฤษ์เกิดเสียอีก)
พระอธิการกฤษ์ ทสฺสโน เกิด เมื่อ พ.ศ. 2415
บรรพชาอุปสมบท ตามปกติ ต้องมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์
บรรพชาอุปสมบท ราว พ.ศ. 2435 ถ้าบวชได้ 5 พรรษา ตรงกับ พ.ศ. 2440
พระอุโบสถหลังเล็ก ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ 31 พฤษภาคม 2449
หลวงพ่อกฤษ์ หนีออกจากวัด เมื่อ มิถุนายน พ.ศ. 2473 อายุ 58 ปี เดินออกประตูทิศใต้วัด
ประวัติของวัดบรรพตาวาส (เขากระจิว) ที่ทำกันมานั้น ใช้ พ.ศ. 2403 เป็นการก่อสร้างวัด ถึงปัจจุบัน ประมาณ 140 ปี ?
ภายในถ้ำมืด
เว้นชั่ว ประกอบดี ทำจิตให้ผ่องแผ้ว
สั่งสอนพระภิกษุสามเณร ตลอดเวลาในเพศบรรพชิตของท่าน
ภายในถ้ำมืด
ทางขึ้นถ้ำมืด และถ้ำสว่าง
ภายในถ้ำสว่าง
ภายในถ้ำสว่าง เขากระจิว
โดย :
ที่อยู่ :
ต.น้ำอ่าง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์
จำนวนเข้าดู :
3094
ปรับปรุงล่าสุด :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
ข้อมูลเมื่อ :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24