วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
มองเขา แก้ (ไข) ที่เรา
การมองสิ่งต่างๆ รอบตัว จะเห็นทั้งความเหมือนกันและความต่างกันหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สิ่งปลูกสร้าง หรือแม้กระทั่งมนุษย์ด้วยกัน
     “มองเขาแก้ไขที่เรา” มุ่งไปที่ตัวบุคคลเป็นสำคัญ เพราะแต่ละคนมี่ต้นทุนชีวิตไม่เหมือนกัน การเพ่งมองออกไป จึงควรอยู่ในหลักการที่ว่า “มองเป็น เห็นประโยชน์ มองไม่เป็น เห็นโทษ”
 คนอื่นที่เรากำลังมอง อาจมีการศึกษาดีกว่าเรา มีอาชีพการงานมั่นคงกว่า มีครอบครัวที่อบอุ่นกว่า มีสถานภาพทางสังคมที่แข็งแรงกว่า มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดูโดดเด่นกว่า มีความเป็นผู้นำได้ดีกว่า มีทัศนคติต่อโลกและเพื่อนมนุษย์ดีกว่า เป็นต้น ความได้เปรียบดังกล่าว บ่งชี้ความเป็นต่อโดยปริยาย หากทำการเปรียบเทียบ
 การรู้จักมองเขา แล้วเราเก็บสาระสำคัญมาเป็นแรงขับเคลื่อนตัวเอง ปรับปรุงตนเอง แก้ไขข้อบกพร่อง อีกทั้งตั้งปณิธานว่า “เราก็พัฒนาได้” จึงเป็นการมองที่ไม่ด้อยค่า ไม่สูญเปล่า และไร้ซึ่งความรู้สึกกดทับ เพราะต้นทุนที่เรามีอยู่ ทัดเทียมกับเขาไม่ได้เลย
 เมื่อครั้งพุทธกาล อุปติสสะมาณพ ผู้ยังหนุ่มแน่น เกิดความเบื่อหน่ายต่อการใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ ทุกวัน ได้ชวน โกลิตะ เพื่อนสนิท ออกเที่ยวหาสัจธรรมชีวิต เบื้องต้นทำข้อตกลงกันว่า หากใครพบเห็นก่อนแล้ว จะต้องบอกกันและกัน มิให้ปกปิดหรือทิ้งข้อตกลงนี้เสีย
 มาณพหนุ่มทั้งสองได้แยกทางกันเสาะหาวิธีการใช้ชีวิตแบบใหม่อยู่พักใหญ่ อุปติสสะมาณพ ได้พบกับพระสมณะรูปหนึ่ง ซึ่งกำลังเดินรับบิณฑบาตในหมู่บ้าน ภาพที่ปรากฏต่อสายตาคู่นั้น สะกดใจเขายิ่งนัก เป็นภาพของนักบวชที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน สมบูรณ์ด้วยสมณะสังวรณ์ทุกย่างก้าว
 อุปติสสะมาณพนั่งรอจนกว่า พระสมณะท่านรับบิณฑบาตและฉันจังหันจนเสร็จ แล้วเข้าไปกราบสอบถามความเป็นมา ใคร คือ ครูและครูของท่านได้สอนอะไรบ้าง?
  คำตอบง่ายๆ ที่ได้ฟัง กลายเป็นแรงผลักดันให้อุปติสสะมาณพ อยากเดินทางไปยังสำนักครูของท่านพระสมณะในวันนั้น แต่ด้วยสัจจะที่ให้ไว้กับเพื่อน จึงต้องหวนกลับไปยังเส้นทางที่แยกจากกัน และได้พบกับโกลิตะ เล่าเรื่องที่ตนเองพบกับพระสมณะ ได้ฟังสิ่งที่ท่านบอก จึงทราบว่าครูของท่านนั้นอยู่ที่ไหน
 อุปติสสะและโกลิตะ ออกเดินทางมุ่งหน้าไปจนถึงสำนักของ “ครู” ที่พระสมณะท่านได้แนะนำ และบุคคลที่สองหนุ่มได้พบเห็นครั้งนี้ คือ พระสมณโคดม บรมครูเอกของโลกนั่นเอง ทั้งสองได้ฟังคำสอนอย่างละเอียดละออ ขอรับการอุปสมบท แล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และรับการยกย่องให้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ในที่สุดได้รับการขนานนามใหม่ว่า “พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ” ข้างพระวรกายของพระพุทธองค์
 นี่คือตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ใช้ “การมอง” หรือ “การได้เห็น” ยกระดับความตั้งใจขึ้นสู่การแสวงหา การเรียนรู้ การพัฒนา จนสามารถเข้าถึงเป้าหมายสำคัญดังปณิธานที่ตั้งไว้ได้จริง
  คนเราก็เช่นกัน หากรู้จักมองและสังเกตสิ่งที่รายล้อม โดยไม่ละเลยความสำคัญ อาจเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นห้องเรียนที่สามารถพลิกชีวิตครั้งใหญ่ได้ แม้ไม่ยิ่งใหญ่เทียมเท่า แต่เราก็ไม่ปิดกั้น ไม่ข้ามผ่านความน่าจะเป็น เพียงเพราะรู้สึกว่า ไม่อยากลอง ไม่อยากเสี่ยง ไม่อยากเพลี่ยงพล้ำ และไม่อยากบอบช้ำอย่างที่เคยเป็น แล้วการเห็นทุกสิ่งอย่างจะเกิดคุณประโยชน์และมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

  มองเขาแก้ไขที่เรา จึงเหมือนคันธนูที่ตัวเราต้องลองจับและฝึกยิงให้ถูกเป้าที่อยู่ห่าง บางลูกก็โดน บางลูกก็ยิงพลาด แต่ไม่ทุกครั้ง และแต่ละครั้งที่โก่งคันธนูยิง เราเห็นข้อบกพร่องครั้งก่อนบ้างไหม แล้วได้นำมาปรับปรุงการยิงครั้งใหม่ให้ดีขึ้นด้วยหรือไม่ เพราะแต่ละลูกที่ยิงออกไป ต้องไม่สูญเปล่าและไม่ควรออกห่างจากเป้าหมายที่เรามุ่งหวัง
ผู้แต่ง :
อมรสุทฺธิ ภิกฺขุ
ที่อยู่ :
ต.เขาย้อย อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
จำนวนเข้าดู :
550
ปรับปรุงล่าสุด :
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 11:07:04
ข้อมูลเมื่อ :
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 11:04:30