วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
ประกาศนิมนต์พระภิกษุหาที่จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรม สติปัฏฐาน 4 ณ วัดชากพง
การปฏิบัติธรรม ในการเจริญสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต และธรรม ตลอดพรรษา 3 เดือน วิธีการปฏิบัติแบบพอง ยุบ มีการสอบอารมณ์ หลักฐานแสดงตน คือ 1. บัตรประชาชน หรือใบสุทธิ หรือในฉายาบัตร 2. ต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัด 3. มีจริยาวัตรเรียบร้อย 4.ไม่สูบบุหรี และยาเสพติดทุกชนิด

หลักเกณฑ์

หน้าที่ของพระภิกษุในการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยเเละจริยวัตรอย่างเหมาะสม

 
   การเรียนรู้ถึงหน้าที่ของพระภิกษุในการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยและจริยาวัตรอย่างเหมาะสมหน้าที่ของพระภิกษุ พระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนามีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย ได้แก่

1. ปริยัติ ได้แก่ การศึกษา พระภิกษุมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความรู้ ความจำ ซึ่งเกิดจากการสดับตรับฟังมากและการศึกษาเล่าเรียนมามาก จากนั้นก็เริ่มนำพระธรรมวินัยและข้อวัตรปฏิบัติที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนนั้นมาสั่งสอนพุทธศาสนิกชนโดยนำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแผ่แนะนำให้พุทธศาสนิกชนได้ใช้และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ

2. ปฏิบัติ พระภิกษุเมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนมาแล้วจะมากหรือน้อยก็ตาม ย่อมต้องได้ประพฤติปฏิบัติตนทั้งในด้านพุทธบัญญัติและการอบรมขัดเกลาจิตใจของตนให้สะอาดปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ปฏิบัติตามหลักธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดไม่ให้บกพร่อง ไม่ให้ด่างพร้อย

3. ปฏิเวธ แปลว่า การรู้แจ้งแทงตลอดในข้อธรรมของพระพุทธเจ้า พระภิกษุเมื่อได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมย่อมรู้แจ้งแทง ตลอดในพระธรรมวินัยนั้น ได้รับมรรคผลหลังจากที่ได้เพียรพยามปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่มุ่งหวังไว้

หากจะสรุปหน้าที่ของพระภิกษุแล้ว พระภิกษุย่อมมีหน้าที่ที่สำคัญ 2 ประการ ดังนี้
1. คันถธุระ ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียน
2. วิปัสสนาธุระ ได้แก่ การปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม พระภิกษุนอกจากจะทำหน้าที่ทั้งสามประการแล้ว ยังต้องควรได้ช่วยเหลือสังคม ด้วยการช่วยพัฒนาท้องถิ่นกันดารต่าง ๆ ช่วยบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะอันเป็นสมบัติทางศาสนา ช่วยพัฒนาสาธารณประโยชน์พื้นฐานของสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาศาสนา และอนุเคราะห์ให้กุลบุตรกุลธิดาได้ศึกษาเล่าเรียนตามความเหมาะสมอีกด้วย
 
  จริยาวัตรของภิกษุ

      พระภิกษุนอกจากจะมีหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีจริยาวัตร ได้แก่ การหมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลัก ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ) ได้แก่ มีความเป็นอยู่ง่าย บริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา มีอากัปกิริยาที่เรียบร้อยดีงามเหมาะสมกับสมณสารูปหมั่นพิจารณาตัวเองว่าตนเองและเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายยังติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ทุกคนจักต้องพลัดพรากจากของที่รักที่ชอบใจ มีกรรมเป็นของตนไม่สามารถหลีกหนีได้ ไม่ตกอยู่ในความประมาท ไม่ปล่อยเวลาให้ปราศจากประโยชน์ ยินดีในที่สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นต้น 

       ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนผู้นับถือพระพุทธศาสนาว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก เมื่อได้เรียนรู้หน้าที่และจริยาวัตรของพระภิกษุสามเณรเช่นนี้แล้ว จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะได้นำหน้าที่และจริยาวัตรของท่านมาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้แก่

1. การศึกษาเล่าเรียน ศึกษาค้นคว้าหาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ 
2. การประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมที่ถูกต้องดีงาม เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนเองและส่วนรวม ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ใคร ๆ
3. การปฏิบัติสมาธิ ให้จิตใจมีความสงบร่มเย็น มีสติอยู่กับตัว ระลึกได้อยู่ตลอดเวลา
4. การหมั่นพิจารณาตนเอง ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อจนเกินไป
5. การพิจารณาตนเองว่าอะไรทำแล้ว อะไรยังไม่ได้ทำ ไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท

กำนดการปฏิบัติธรรม

กำหนดการปฏิบัติธรรมโครงการปฏิบัติธรรมตลอดพรรษา ปี ๒๕๖๓
“หลักสูตรโปรแกรมสติปัฏฐาน ๔ ( พอง ยุบ)”
สำนักปฏิบัติธรรม วิปัสสนาปฏิปทาอริยวงศ์ วัดชากพง
 
วันที่หนึ่ง ของการปฏิบัติธรรม
 
เวลา ปฏิบัติธรรม ผู้รับผิดชอบ
๐๘.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. จัดสัมภาระเข้าที่พัก / จัดระเบียบแถวในห้องประชุม เจ้าหน้าที่ลงทะเบียน
๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐  พิธีเปิด
-ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย/กล่าวบูชาพระรัตนตรัย
- ผู้จัดโครงการกล่าวรายงาน
- ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาท และกล่าวเปิดโครงการ
พิธีมอบตัวเป็นศิษย์
- พระภิกษุปลงอาบัติ
- ขึ้นพระกัมมัฏฐาน มอบตัวเป็นศิษย์ต่อพระวิปัสสนาจารย์
- ประธานฝ่ายสงฆ์กล่าวสัมโมทนียกถาขึ้น
- ทำแบบทดสอบประเมินตนเอง
- สวดมนต์
- บรรยายหลักธรรมการปฏิบัติเบื้องต้น

 
 
 
 
 
พระวิปัสสนาจารย์
๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ ดื่มน้ำปานะ  
๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ อาบน้ำทำภารกิจส่วนตัวกำหนดอิริยาบถย่อย  
๑๘.๐๐ - ๑๙.๐๐ ทำวัตรเย็นแปล  
๑๙.๐๐ - ๒๐.๐๐ บรรยายธรรมภาคปฏิบัติ  
๒๐.๐๐ – ๒๒.๐๐ ปฏิบัติธรรม  
 
วันที่ ๒ - วันสุดท้าย
๐๓.๓๐ สัญญาณระฆัง - ทำความสอาดสรีระ  
๐๔.๐๐ - ๐๖.๐๐ ทำวัตรเช้า เจริญภาวนาพรหมวิหาร ๔  
๐๖.๐๐ - ๐๘.๐๐ บิณบาตร - ฉันเช้า ***ใช้ชีวิตปกติ***
๐๘.๐๐ - ๑๓.๐๐ ทำความสะอาดวัด กำหนดอิรยาบถย่อย ในการทำกิจวัตรประจำวัน  
๑๐.๓๐ ฉันภัตตาหาร  
๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ ปฏิบัติธรรมรวมที่ศาลา  
๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ ฉันน้ำปานะ ทำความสะอาดสรีระ  
๑๘.๐๐- ๑๙.๐๐ ทำวัตรเย็นแปล  
๑๙.๐๐ - ๒๒.๐๐ ปฏิบัติธรรมเจริญสติปัฏฐาน ๔  
๒๒.๐๐ – ๐๓.๓๐ จำวัด - ตื่นนอน ทำความสอาดสรีระ  
 
วันที่สุดท้ายโครงการการปฏิบัติธรรม
 
เวลา ปฏิบัติธรรม ผู้รับผิดชอบ
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ พิธีปิด
- ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
- เจ้าของโครงการกล่าวสรุปผลโครงการ (ประธานมอบวุฒิบัตร)
- ประธานให้โอวาท และกล่าวปิดโครงการ
- ทำแบบทดสอบ (หลัง)
- กราบลาพระรัตนตรัย
- พักผ่อน
 
 
หมายเหตุ  : 
กำหนดการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของพระวิปัสสนาจารย์เพื่อปรับอินทรีย์ ให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรม  เพื่อเอื่อให้แด่ผู้ปฏิบัติในความก้าวหน้าแห่งธรรม
๑.  ห้ามนำโทรศัพท์มือถือเข้ามาใช้ในห้องปฏิบัติธรรม
๓.  ห้ามออกนอกสถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาต
๔.  ฝึกการตรงต่อเวลา  -สงบสำรวม กาย วาจา ใจ  -
๕.  ผู้ปฏิบัติธรรมไม่เข้าตามระยะกำหนดเวลา พระวิปัสสนาจารย์ก็จะเชิญให้กลับ เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ปฏิบัติธรรมท่านอื่น ๆ
๖. ปิดไฟ เวลา ๒๓.๐๐ น.

 

 


ติดต่อได้ที่นี้
https://kampithep.blogspot.com/

ประวัติประธานพระวิปัสสนาจารย์
 
 
 
ชื่อ                :  พระคัมภีร์เทพ  ธมฺมิโก  (วรรธน์นศรี) https://www.vipassanathai.org/main.php?url=monk
ว/ ด/ ป เกิด   :  ๐๖  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๒๒
สถานที่เกิด   :  กรุงเทพมหานคร
การศึกษา     :  นักธรรมเอก  เลขที่ ๒๓๖๒/๐๑๕๕ ปี  ๒๕๖๒  สำนักเรียน                   วัดสพานสูง จังหวัดนนทบุรี
:  ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต MBA ปี ๒๕๕๕ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
: ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬา  ลงกรณราชวิทยาลัย บาฬีศึกษาพุทธโฆส วิทยาเขตนครปฐม ปี ๒๕๖๐
: กำลังศึกษาปริญาญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา
 
ประสบการณ์   
:  เลขานุการพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา รุ่นที่ ๑๐  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บาฬีศึกษาพุทธโฆส วิทยาเขตนครปฐม
:  พระวิปัสสนาจารย์สอนกัมมัฏฐานนิสิต โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี ๒๕๕๗ มจร. วังน้อยฯ
:  พระวิปัสสนาจารย์ โครงการอุปสมบท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ๒๕๕๘
:  นำวิปัสสนากัมมัฏฐานสู่พระนวกะ ๒๕๕๖ คณะสงฆ์อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี
:  สัมมนาพระวิปัสสนาจารย์เพื่อการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานสำหรับนิสิต ๒๕๕๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
:  พระนิเทศวิถีพุทธ รุ่น 2 โครงการการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
:  คณะกรรมการตรวจโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ และโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทานฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
:  พระวิปัสสนาจารย์ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
:  พระวิปัสสนาจารย์ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๗ วัดสพานสูง
:  คณะกรรมการฝึกอบรมกิจกรรม สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๗ วัดสพานสูง 
:  คณะกรรมการโครงการ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสพานสูง
:  คณะกรรมการคุมสอบนักธรรมศึกษา สนามหลวง
:  คณะกรรมการร่างหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐานพัฒนาวิถีพุทธ
:  พระวิปัสสนาจารย์และเลขานุการ โครงการกัมมัฏฐานนิสิตทุกชั้นปี ปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอกระหว่างวันที่ ๑๖-๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๐มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) ประจำปี ๒๕๖๐
:  ประธานพระวิปัสสนาจารย์วิถีพุทธ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการโรงเรียนวิธีพุทธ    ที่ประชุม ที่ พิเศษ ๐๑/๒๕๖๑ ในวันที่ ๒๔ เมษยน ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) พระนครศรีอยุธยา
:  อดีตประธานพระวิปัสสนาจารย์วิถีพุทธ ลาออกวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖
:  พระสอนศีลธรรม สำนักพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำโรงเรียนวัดสพานสูง (รถไฟนุเคราะห์) ตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ – ปัจจุบัน
:  ประธานโครงการสร้างพระไตรปิฏก “โครงการ หนึ่งปี หนึ่งชุดพระไตรปิฏก” ปี ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน
:  พระวิปัสสนาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครปฐม โครงการปฏิบัติธรรมนิสิต ป.บส. ปริญญาตรี ปรีญญาโท ปี ๒๕๖๑
:  พระวิปัสสนาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตส่วนกลางวังน้อย โครงการปฏิบัติธรรมนิสิต ป.บส. ปริญญาตรี ปริญญาโท ปี ๒๕๖๑
:  พระสอนศีลธรรมแกนนำภาคกลาง รุ่นที่ ๒/๑ สำนักพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตส่วนกลางวังน้อย พระนครศรีอยุธยา
: คณะกรรมการพระสอนศีลธรรม แบบไฝ่เรียนรู้ Active Learning มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตส่วนกลางวังน้อย พระนครศรีอยุธยา ปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ 
: ประธานสงฆ์ดอนรัง ที่พักสงฆ์ดอนรัง ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๑๒๐ ปี ๒๕๖๑-ปัจจุบัน
: คณะกรรมการพระสอนศีลธรรม พระวิทยากรกระบวนการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตส่วนกลางวังน้อย พระนครศรีอยุธยาปี ๒๕๖๒-๒๕๖๕
: ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดชากพง  ปี ๒๕๖๕๓

อุปสมบท         :  ๑๕  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕  ณ  อุโบสถวัดสพานสูง 
สังกัด             :  วัดสพานสูง  ๔๙  ตำบลคลองพระอุดม  อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
เบอร์โทร         :  ๐๙๕-๕๖๙-๖๔๔๘ , ๐๘๘-๙๖๐-๙๘๙๖
E-mail.           :  kampithep@gmail.com, kampithep@hotmail.com
 
ที่อยู่ :
ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง
จำนวนเข้าดู :
1785
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิถุนายน พ.ศ. 2563 18:22:35
ข้อมูลเมื่อ :
9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 21:03:24