วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
ตัวอย่างใบอนุโมทนาบัตรแบบเก่าโบราณ
ใบอนุโมทนาบัตรที่สามารถยื่นลดหย่อนภาษีเงินได้

ว่าด้วย.. "การทำบุญที่ได้ลดหย่อนภาษี"

สำหรับผู้ใจบุญ ที่ชอบการทำบุญเป็นชีวิตจิตใจ ท่านเคยรู้หรือไม่ว่า การทำบุญของท่าน บางอย่างสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะ

ปัจจุบัน เงินบริจาคที่รัฐอนุญาตให้ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีนั้น ได้แก่

1. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา

ได้แก่ เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของรัฐ ( ตามที่รมต.คลังกำหนด ) ซึ่งรายชื่อของสถานศึกษาที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ตรวจสอบได้จากที่นี่ >> http://www.rd.go.th/publish/28654.0.html

- การลดหย่อนภาษีนั้น จำกัด เฉพาะการบริจาคเป็น "เงิน" เท่านั้น การบริจาคเป็น สิ่งของ เครื่องใช้ หนังสือ หรืออุปกรณ์การเรียนอื่นๆ ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

- เงินที่จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้น จะต้องเป็นการบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เท่านั้น คือ

(1) จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่สถานศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

(2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

(3) จัดหาครูอาจารย์ หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย

- การบริจาคเงินให้แก่โรงเรียนกวดวิชาหรือสถาบันติวต่างๆ ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

จำนวนเงินที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ >> บริจาคจริงเท่าไหร่ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2547 >> http://www.rd.go.th/publish/21455.0.html

- พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ.2556 >> http://www.rd.go.th/publish/47650.0.html

- บันทึกข้อความ ที่ ศธ.5801.4/150 เรื่อง เงินบริจาคได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 2 เท่า ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 558) พ.ศ.2556 >> http://web.kmutt.ac.th/treas…/…/บันทึกข้อความเงินบริจาค1.pdf

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินไ ด้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา >> http://www.rd.go.th/publish/23371.0.html

2. เงินบริจาคการกุศลสาธารณะ

ได้แก่ เงินที่บริจาคให้วัดวาอาราม สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล สถานการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สามารถนำมาลดหย่อนได้ทั้งสิ้น

- จำกัดเฉพาะการบริจาคที่เป็น "เงิน" เท่านั้น การบริจาคเป็นสิ่งของ ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

- จะต้องเป็นการทำบุญ หรือบริจาคเงินให้กับวัด โบสถ์ทางคริสต์ศาสนา หรือมัสยิดของศาสนาอิสลามที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น (ไม่รวมถึงศาสนสถานที่อยู่นอกราชอาณาจักร) การบริจาคเงินให้วัดที่ก่อตั้งขึ้นในต่างประเทศไม่สามารถลดหย่อนได้)

สำหรับสถานสาธารณกุศล หรือมูลนิธิ ต้องอยู่ในรายชื่อที่กรมสรรพากรกำหนด สามารถตรวจสอบได้จากที่นี่ >>> http://www.rd.go.th/publish/29157.0.html

จำนวนเงินที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ >> บริจาคจริงเท่าไหร่ ได้ลดหย่อนเท่านั้น แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- ประมวลรัษฎากร มาตรา 47 (7) >> http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html

ทั้งนี้ หากท่านทั้งหลายบริจาคเงินแล้วจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษี อย่าลืมขอหลักฐานในการบริจาค เช่น ใบอนุโมทนาบัตร หรือ ใบเสร็จจากสถานศึกษาที่ได้บริจาคเงินให้ มาประกอบการยื่นเสียภาษีด้วยนะครับ

ใบเสร็จหรือใบอนุโมทนาบัตร กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ตายตัว แต่อย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียดของผู้บริจาค สถานที่หรือองค์กรที่รับบริจาค จำนวนเงินที่บริจาค และวันเดือนปี ด้วย

กรณีที่บริจาคร่วมกันหลายคน ใส่ชื่อหลายคน ถือว่าทุกคนบริจาคเท่าๆกัน นำไปลดหย่อนภาษีได้ตามสัดส่วน แต่ถ้าใส่ว่า "นาย/นาง.... และครอบครัว" ถือว่า นาย/นาง.... บริจาคคนเดียว ลดหย่อนได้เต็ม ไม่ต้องหารกับใคร

ทำบุญ ได้บุญ แล้วยังลดหย่อนภาษีได้ด้วย... ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว อิอิ
เพิ่มเติมจาก https://www.rd.go.th/publish/60062.0.html

#รู้ทันกฎหมาย ได้ประโยชน์นะเธอว์!!

ที่อยู่ :
ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง
จำนวนเข้าดู :
13116
ปรับปรุงล่าสุด :
6 มิถุนายน พ.ศ. 2563 21:54:41
ข้อมูลเมื่อ :
6 มิถุนายน พ.ศ. 2563 21:28:43